วันอาทิตย์

รวยด้วยอสังหา บทที่ 28 การตอกเสาเข็ม



dsc06320

ภาพการดำเนินงาน ทีมงานยู-ด้า ปั้นจั่น (ช่วงฤดูฝน))
การคิดงาน ตอกเสาเข็ม
ใครที่อยากรู้ว่า เราสร้างบ้าน ต้อง ตอกเสาเข็ม ต้องเสียเงินเท่าไหร่ เขาคิดราคากันอย่างไร วันนี้ จะมาเล่าให้ฟัง ปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณา ในการคิดงาน ตอก เสาเข็ม มีดังนี้
1.ชนิดของเสาเข็ม เช่น
1.1 เสาเข็มเจาะ
1.2 เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กธรรมดา
1.3 เสาเข็ม คอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง
1.4 เสาเข็มไม้
2. มิติ ของเสาเข็ม (ขนาด + ความยาว)
3. จำนวน เสาเข็ม
4. สถานที่ก่อสร้าง

รวยด้วยอสังหา บทที่ 29 เสาเอก


ภาพจาก: การดำเนินงานของทีมงาน ยู-ด้า ปั้นจั่น)
ตอกเสาเอก (เสาฤกษ์)
ในอดีตบ้านเรือนล้วนแต่เป็นบ้านที่ปลูกสร้างด้วยไม้ เพราะไม้เป็นวัสดุที่หาง่าย ราคาถูก ดังนั้นเสาของตัวบ้านจึงเป็นเสาไม้ พิธีฤกษ์ลงเสาเอกแต่ก่อนก็คือ ฤกษ์เวลาที่เรานำเสา(ไม้)หลักของบ้านหย่อนลงสู่หลุมที่เตรียมเอาไว้ จับให้เสาตั้งตรงแล้วเอาไม้ค้ำยันค้ำไว้จากนั้นก็นำดินมากลบหลุมทั้งหมด
แต่ในปัจจุบันนี้ด้วยสภาพแวดล้อมที่มีความปลียนแปลงไป ประกอบกับเทคโนโลยีที่ ทันสมัยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อาคารบ้านเรือนมีความหลากหลาย แตกต่างกันออกไป อีกทั้งอาคารบ้านเรือนไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ส่วนใหญ่ล้วนมีโครงสร้างเป็นคอนกรีตที่เสริมเหล็ก รากฐานของตัวอาคารต่างๆ

รวยด้วยอสังหา บทที่ 27 การถมดิน ขุดดิน ปรับระดับ


dsc03479
ปรับพื้นที่ดิน(ขุดดิน-ถมดิน ภายในบริเวณที่ก่อสร้าง)
การปรับหน้าดินให้มีความสูงเสมอพร้อมก่อนลงมือปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน เราอาจมีการปรับพื้นที่ดินภายใน
บริวณที่มีการก่อสร้างให้มีการขุดและถมดินควบคู่กันไป เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีก
อาทิ ดินที่จะได้จากการขุดบนเนิน ,ดินที่ได้จากการขุดเพื่อสร้างชั้นใต้ดิน ,สร้างสระว่ายน้ำ หรือขุดดินเพื่อสร้างบ่อเก็บน้ำใต้ดิน ซึ่งดินที่ได้เราก็นำมาถมในพื้นที่ที่จะก่อสร้างตัวอาคารได้
- การถมดิน ในการสร้างบ้าน ก็เพื่อปรับความสูงของดินในพื้นที่ก่อสร้างให้สูงขึ้น

รวยด้วยอสังหา บทที่ 26การวางผังอาคาร


ภาพจาก ยู-ด้า ปั้นจั่น

ประโยฃน์ของการวางผังอาคาร
การวางผังอาคารนั้นก็เพื่อเราจะได้กำหนดตำแหน่งของตัวบ้านบนที่ดิน ว่าต้องการให้บ้าน สร้างให้อยู่ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านซ้าย หรือด้านขวาของที่ดิน การวางผังอาคารนั้นนอกจากเป็นสิ่งสำคัญต่อสร้างบ้านแล้ว ยังเป้นประโยชน์ต่อการตรวจสอบรายละเอียดให้ได้ความถูกต้อง สวยงาม ดังนี้
ตรวจสอบหมุดหลักเขตที่ดิน กับ โฉนดที่ดิน ว่ามีครบถ้วนหรือไม่
ป้องกันปัญหากับบ้านข้างเคียง เพราะถ้าหากว่าวางผังไปทั้งๆที่หมุดไม่ครบ ช่างอาจจะใช้วิธีวัดระยะเอา ซึ่งมีโอกาสผิดพลาด และ เกิดปัญหาขึ้นได้
ตรวจสอบผังก่อสร้าง ตำแหน่ง ทิศทาง แนวฉากเทียบกับ แนวที่จะใช้อ้างอิง (จะให้ตั้งฉากกับแนวถนน ซึ่งเป็นแนวที่ดินด้านหน้า หรือ ตั้งฉากกับแนวที่ดินด้านข้าง
เพื่อให้บ้านไม่เอียง เพื่อความสวยงามรับกับแนวถน

รวยอสังหา บทที่ 25 เป็นนายหน้าอสังหา ควรเป็นสมาชิก Real estate broker associate


ขั้นตอนพิจารณาการอนุมัติการสมัครสมาชิก
สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์


สมาชิกสามัญนิติบุคคล
1. ผู้สมัครสมาชิกสามัญนิติบุคคล ต้องกรอกใบสมัครสมาชิก และใบสมัครสอบ พร้อมชำระค่าบำรุงสมาคมฯ 2,000 บาท ค่าลงทะเบียนแรกเข้า 500 บาท และค่าสมัครสอบ 200 บาท รวม 2,700 บาท (สองพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน)
***หมายเหตุ: (สมาคมฯ รับชำระเงินโดยออกใบเสร็จรับเงิน หากไม่ผ่านการสมัครสมาชิก ทางสมาคมฯ ไม่คืนเงินทุกกรณี)
2. สมาคมฯ ตรวจสอบใบสมัครและเอกสารประกอบการสมัครสมาชิก
3. สมาคมฯ ติดต่อกรรมการที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงผู้สมัคร เพื่อมอบให้กรรมการไปตรวจสอบสถานที่ทำการ (เฉพาะในเขตกทม.และปริมณฑล / สำหรับสมัครจากต่างจังหวัดให้จัดส่งรูปที่ตั้งสำนักงาน และแผนที่มาให้พิจารณาประกอบการอนุมัติ)
4. สมาคมฯ จะนำเรื่องการสมัครเข้าที่ประชุมเพื่ออนุมัติการเป็นสมาชิกและผู้มีสิทธิสอบ พร้อมกับเชิญกรรมการผู้มีอำนาจหรือผู้รับมอบอำนาจ 1 ท่าน จากบริษัทผู้สมัครเข้าประชุมเพื่อแนะนำตัวต่อคณะกรรมการสมาคมฯ ในคราวเดียวกัน
5. ผู้สมัครสมาชิกหากผ่านการอนุมัติผู้มีสิทธิสอบ ทางสมาคมฯ จะประกาศให้ผู้สมัครทราบ
6. ผู้สมัครที่ผ่านการอนุมัติผู้มีสิทธิสอบแล้ว กรรมการผู้มีอำนาจหรือผู้รับมอบอำนาจ 1 ท่าน จากบริษัทจะต้องเข้ารับการสอบที่จัดโดยสมาคมฯ
7. ผู้สมัครสอบที่ผ่านการสอบ ทางสมาคมฯ จะส่งผลการสอบให้ทราบพร้อมทั้งจดหมายยืนยันการเป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์ (หากสอบไม่ผ่านต้องมาสอบซ่อมใหม่จนกว่าจะผ่าน โดยชำระค่าสอบซ่อม 200 บาท )
8. สมาคมฯ จัดทำบัตรสมาชิกสามัญให้แก่กรรมการผู้มีอำนาจหรือผู้รับมอบอำนาจ 1 ท่าน จากบริษัทผู้สมัครพร้อมกับจัดส่งหนังสือข้อบังคับสมาคมฯ ให้สมาชิก

สมาชิกวิสามัญบุคคลธรรมดา
1. ผู้สมัครสมาชิกวิสามัญบุคคลธรรมดา ต้องกรอกใบสมัครสมาชิก และใบสมัครสอบ พร้อมชำระค่าบำรุงสมาคมฯ 1,000 บาท ค่าลงทะเบียนแรกเข้า 500 บาท และค่าสมัครสอบ 200 บาท รวม 1,700 บาท (หนึ่งพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน)
***หมายเหตุ: (สมาคมฯ รับชำระเงินโดยออกใบเสร็จรับเงิน หากไม่ผ่านการสมัครสมาชิก ทางสมาคมฯ ไม่คืนเงินทุกกรณี)
2. สมาคมฯ ตรวจสอบใบสมัครและเอกสารประกอบการสมัครสมาชิก
3. ผู้สมัครสมาชิกวิสามัญที่ยังไม่ได้ผ่านการอบรมหรือไม่มีใบรับรองผ่านการอบรมจะต้องเข้ารับการอบรมจากสถาบันอบรมที่สมาคมฯ ให้การรับรอง
4. ผู้สมัครที่ผ่านการอบรมแล้ว สมาคมฯ จะนำเรื่องการสมัครเข้าที่ประชุมเพื่อการอนุมัติการเป็นสมาชิกและผู้มีสิทธิสอบ พร้อมกับเชิญผู้สมัครเข้าประชุมเพื่อการแนะนำตัวต่อคณะกรรมการสมาคมฯ ในคราวเดียวกัน
5. ผู้สมัครสมาชิกหากผ่านการอนุมัติผู้มีสิทธิสอบ ทางสมาคมฯ จะประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
6. สมาชิกวิสามัญที่ผ่านการอนุมัติผู้มีสิทธิสอบแล้ว จะต้องเข้ารับการสอบที่จัดโดยสมาคมฯ
7. ผู้สมัครสอบที่ผ่านการสอบ ทางสมาคมฯ จะส่งผลการสอบให้ทราบพร้อมทั้งจดหมายยืนยันการเป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์ (หากสอบไม่ผ่านต้องมาสอบซ่อมใหม่จนกว่าจะผ่าน โดยชำระค่าสอบซ่อม 200 บาท )
8. สมาคมฯ จัดทำบัตรสมาชิกวิสามัญให้แก่ผู้สมัครพร้อมกับจัดส่งหนังสือข้อบังคับสมาคมฯ ให้สมาชิก

สมาชิกสมทบสังกัดบริษัทสมาชิกสามัญนิติบุคคล
1. พนักงานขายในสังกัดบริษัทสามัญจะต้องผ่านการอบรมจากบริษัท (In - house Training) หรือผ่านการอบรมจากสถาบันอบรมที่ได้รับการรับรองจากสมาคมฯ
2. พนักงานขายในสังกัดบริษัทสมาชิกสามัญต้องเข้ารับการสอบที่จัดโดยสมาคมฯ เพื่อรับบัตรพนักงานขายอสังหาริมทรัพย์ พร้อมทั้งสมัครสมาชิกสมทบ โดยชำระค่าสมัครสอบ 200 บาท เงินค่าบัตร 300 บาท รวม 500 บาท (ห้าร้อยบาทถ้วน)
3. พนักงานขายที่สอบผ่าน ทางสมาคมฯ จัดทำบัตรพนักงานขายอสังหาริมทรัพย์ ให้กับผู้สมัคร

วันพฤหัสบดี

รวยอสังหา บทที่ 24 Factory for rent or sale ขายหรือให้เช่าโรงงาน

ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีมาก ห่างจากสนามบินสุวรรณภูมิเพียง 10 นาที การคมนาคมสะดวก สามารถเชื่อมต่อกับเส้นทางหลักทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑล บรรยากาศดี อยู่ติดเขตลาดกระบัง 
โรงงานและคลังสินค้าได้รับการออกแบบมาอย่างดี มีการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องสาธารณูปโภคที่จำเป็นครบครัน รูปแบบและโครงสร้างอาคารทันสมัยได้มาตรฐานสากล เหมาะสำหรับนักลงทุนชาวต่างชาติและผู้ประกอบการรายใหม่ที่ดำเนินธุรกิจขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมซึ่งสามารถขอใบรับรองได้ 
โครงสร้างของอาคาร พื้นที่ แบ่งออกเป็น 3 ยูนิต ได้แก่
อาคาร 1 มีพื้นที่ 2,550 ตร.ม. พร้อมสำนักงาน
อาคาร 2 มีพื้นที่ 1,650 ตร.ม.
อาคาร 3 มีพื้นที่ 2,550 ตร.ม. พร้อมสำนักงาน

วันจันทร์

รวยด้วยอสังหา บทที่ 23 เหล็กเส้นที่คุณ(อาจไม่รู้) long product steel

ประหยัดการใช้เหล็กอย่างไร      โดยปกติการพิจารณาเลือกชนิดของเหล็กเส้น ได้แก่ เหล็กเส้นกลม เหล็กข้ออ้อย ชนิด SD30, SD40 และ SD40 และ SD50 จะขึ้นอยู่กับชนิดของโครงสร้างเป็นหลัก และในปัจจุบันมีความนิยมใช้เหล็กเส้นข้ออ้อยมากกว่าการใช้เหล็กเส้นกลมเนื่องมาจากคุณภาพที่ดีกว่า ทั้งด้านแรงดึง และแรงยึดเกาะคอนกรีต ในขณะที่ราคาเท่ากันและในขณะเดียวกันสัดส่วนของการใช้ SD40 ต่อ SD30 ก็มีมากขึ้น เนื่องจากผู้ใช้สามารถซื้อ SD40 ในราคาสูงกว่า SD30 เพียง 20 สตางค์ ต่อ กิโลกรัม แต่มีแรงดึงสูงกว่า ถึง 33 % ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการลดจำนวนการใช้เหล็กและทำให้ต้นทุนโดยรวมถูกกว่าถึง 30 % 

รวยอสังหา บทที่ 22 อิฐมวลเบาPCC ดีกว่าอิฐมอญอย่างไร Constructor tips

อิฐมวลเบา PCC ดีกว่า อิฐมอญอย่างไร


อิฐมวลเบาสำหรับช่าง

1. ก้อนใหญ่กว่าก่อได้เร็วกว่า
    ·  ขนาดอิฐมวลเบา 7.5X 20 X 60 ซ.ม.
        ขนาดอิฐมอญ 7X 15 X3 ซ.ม.
    · การใช้งานอิฐมวลเบา 8.33 ก้อน /ตร.ม.       การใช้งานอิฐมอญ 130-145 ก้อน/ ตร.ม.
2. เทียบพื้นที่เท่ากันเบากว่า
    เบากว่าอิฐมอญ 2-3 เท่า และเบากว่าคอนกรีต
    4-5 เท่า ทำให้สะดวกในการติดตั้งและขนย้าย
    · น้ำหนักอิฐมวลเบา 45 กก./ ตร.ม.      น้ำหนักอิฐมอญ 130 กก./ ตร.ม.
3. งานเสร็จไว ก็ได้รับเงินไว
    · ความรวดเร็วในการก่ออิฐมวลเบา 15-20 ตร.ม./วัน
      ความรวดเร็วในการก่ออิฐมอญ 6-12 ตร.ม./วัน
สำหรับลูกค้าทั่วไป

รวยอสังหาบทที่ 21 ซีเมนต์โฟม VS อิฐมวลเบา ในการต่อสร้าง Cementfoam EPS

ว่าด้วยเรื่องราคาก่อนครับ
คำนวนพื้นที่ 3.60ตรม.เอาขนาดมาตรฐานแผ่นซีเมนต์โฟมนะครับ
อิฐมวลเบา 1 ตร.ม. = 8.33  ก้อน  หากพื้นที่  3.60 ตร.ม. ใช้อิฐ 30 ก้อน
โฟมซีเมนต์ 1 แผ่น ขนาด1.20x3.00 x หนา 3 นิ้ว = 395 บาท พื้นที่ 3.60 ตร.ม. แต่มีอุปกรณ์ประกอบอีกคือ ตะแกรงลวด เมตรละ 75 บาท (แบบบาง) ใช้ 2 ด้าน รวม 3.60 ตารางเมตร (75x2x3)+45=495 บาท  
สรุปดังนี้ ใช้อิฐมวลเบา 3.60 ตารางเมตร ใช้ 30 ก้อน ค่าใช้จ่าย 1,080.00 บาท
           ใช้โฟมซีเมนต์ 3.60 ตารางเมตร ใช้ 1 แผ่น   ค่าใช้จ่าย 495+395 = 890 บาท


หมายเหตุว่า  โดยรายละเอียดโฟม ขนาด 1.20 * 3.00 ม. ความหนาแน่น 0.8 ปอนด์/ลบ.ม. แผ่นละ 395 บาท คิดเป็น 109 บาท ต่อ 1 ตารางเมตร ถ้าสั่งเกิน 200 แผ่น ส่งกับรถเทรนเลอร์ (ค่าส่งไม่ทราบครับ) แต่ถ้าต้องการต่ำกว่า 200 แผ่น ส่งทาง พกง. ครับ

คุณสมบัติที่ดี ของ cement foam 
1.น้ำหนักเบาในการผลิตผนังซีเมนต์โฟม รั้วซีเมนต์โฟม โฟมคิ้วยัว โฟมแกะสลักเสมือนหิน ที่ผลิตจากโฟมEPS ในการก่อสร้าง ช่วยประหยัดทั้งต้นทุน และระยะเวลาในการก่อสร้าง เพราะโฟม EPS มีน้ำหนักเบา สามารถยก หรือ เคลื่อนย้ายได้ง่าย
2.ประหยัดไฟ

วันอาทิตย์

รวยด้วยอสังหา บทที่ 20:ภาระจำยอม real estate legal

ภาระจำยอมในที่ดิน
----------------ภาระจำยอม เป็นทรัพยสิทธิ ประเภทหนึ่ง ที่ตัดทอนกรรมสิทธิ์ ในอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่น อันทำให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น ต้องยอมรับภาระบางอย่างซึ่งกระทบกระเทือนอำนาจกรรมสิทธิ์ เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ในทางกฏหมายแล้ว อสังหาริมทรัพย์ที่ได้ประโยชน์จากภาระจำยอมเรียกว่า " สามยทรัพย์ " ส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในบังคับภาระจำยอมเรียกว่า " ภารยทรัพย์ " ตัวอย่างภาระจำยอมเช่น ยอมให้มีทางเดิน หรือ ทางน้ำ ยอมให้ชายคา หรือ หน้าต่างบุคคลอื่น ล้ำเข้ามาในที่ดินของตน ยอมที่จะไม่ปลูกสร้างอาคาร ปิดบังแสงสว่าง ทางลม แก่ที่ดินข้างเคียง 
----------สิทธิ และ หน้าที่ของ เจ้าของภารยทรัพย์มีดังนี้คือ
-----1. ต้องไม่ประกอบการใด ๆ เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมนั้นลดลงไป
-----2. เจ้าของสามยทรัพย์ ไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงใน ภารยทรัพย์ หรือ ในสามยทรัพย์ อันเป็นการเพิ่มภาระแก่ ภารยทรัพย์
-----3. เจ้าของสามยทรัพย์ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อรักษาและ ใช้ภาระจำยอม และ ต้องให้ภารยทรัพย์เสียหายน้อยที่สุด
-----4. ถ้าความต้องการของเจ้าของสามยทรัพย์เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงนั้นย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่เจ้าของสามยทรัพย์ ที่จะทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้น แก่ภารยทรัพย์
-----5. เจ้าของภารยทรัพย์อาจจะขอย้ายไปส่วนอื่น ก็ได้ แต่การย้ายนั้น ต้องไม่ ทำให้ความสะดวกแห่งสามยทรัพย์ลดน้อยลงไป
-----6. ถ้ามีการแบ่งภารยทรัพย์ ภาระจำยอมก็คงมีอยู่ทุกส่วน ที่แยกออกไป แต่ถ้าส่วนใดไม่ใช้ หรือ ใช้ไม่ได้ เจ้าของส่วนอาจเรียกหรือ ขอให้พ้นจากภาระจำยอมได้ 
-----7. เมื่อสามยทรัพย์ได้จำหน่ายออกไปภาระจำยอมย่อมติดไปด้วย เว้นแต่จะมีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น 
ภาระจำยอมเป็นบทบัญญัติที่ไม่มีการจำกัดระยะเวลา เหมือนทรัพยสิทธิประเภทอื่น ดังนั้นการทำนิติกรรมที่ ก่อให้เกิดภาระจำยอมต้องกำหนดเงื่อนไงไว้ให้ชัดเจน เช่น ความกว้างความยาว การให้ยานพาหะนผ่านได้หรือไม่ หรือ การกำหนดว่าให้หมดภาระจำยอม เมื่อมีการโอน สามยทรัพย์ให้บุคคลอื่น 
----------ภาระจำยอม อาจเกิดโดยนิติกรรม และ โอยอายุความภาระจำยอมโดยนิติกรรม จะทำได้โดยการตกลงกัน ระหว่างเจ้าของที่ดินแปลงที่จะจดเป็นภาระจำยอม และ แปลงที่จะได้ประโยชน์จากภาระจำยอม โดยต้องจดทะเบียน ต่อเจ้าหน้าที่ ส่วนภาระจำยอมที่เกิดจากอายุความ เกิดโดยทื่ดินแปลง หนึ่งได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินอีกแปลงหนึ่ง โดยสงบ เปิดเผย และ มีเจตนาเป็นเจ้าของสิทธินั้น ติดต่อกันเป็นระยะเวลาเกิน 10 ปี จนได้ภาระจำยอมโดยอายุความ
----------การสิ้นไปแห่งภาระจำยอม
-----1. ถ้า ภารยทรัพย์ หรือ สามยทรัพย์ สลายไปทั้งหมดเท่ากับภาระจำยอมจะสิ้นไปโดยอัตโนมัติ
-----2. เมื่อภารยทรัพย์ หรือ สามยทรัพย์ ตกเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เจ้าของสามารถขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมได้
-----3. ภาระจำยอมไม่ได้ใช้ 10 ปี ติดต่อกัน ภาระจำยอม ย่อมหมดสิ้นไป
-----4. ภาระจำยอมหมด ประโยชน์ แก่สามยทรัพย์
-----5. เมื่อภาระจำยอมนั้น ยังประโยชน์ ให้แก่ สามยทรัพย์นั้น น้อยมาก เจ้าของภารยทรัพย์ขอให้พ้นจากภาระจำยอมทั้งหมด หรือ แต่บางส่วนก็ได้ แต่ต้องใช้ค่าทดแทน

วันเสาร์

รวยอสังหา บทที่ 19:ข้อคิดในการเลือกซื้อที่ดิน Real estate tips to rich

 1. ทำเลที่ตั้ง  ก่อนอื่นให้ดูผังเมืองรวมของจังหวัดที่ท่านจะสร้าง โรงงานว่าที่ดินแปลงที่ท่านดูอยู่นั้นสามารถสร้างโรงงาน
ได้หรือไม่ โดยในผังเมืองจะแบ่งเขตพื้นที่ (Zoning Area) เอาไว้ว่าแต่ละโซนของที่ดินใช้ทำอะไรได้หรือไม่ เช่น พื้นที่
สีเขียวใช้ทำเกษตรกรรม
,
พื้นที่สีม่วงใช้ ทำอุตสาหกรรม,พื้นที่สีเหลือง ใช้เป็นที่พักอาศัย เป็นต้น ซึ่งในแต่ละโซนก็จะกำหนดรายละเอียด
ปลีกย่อย มากขึ้นไปอีก อาทิเช่น โซนที่ระบุให้ทำเกษตรกรรมแต่มีข้อยกเว้นสร้างโรงงานที่ไม่มีมลพิษได้บางส่วน
5 – 10% ของพื้นที่
ในโซนนั้นเป็น ต้น ซึ่งต้องไปดูว่า
อุตสาหกรรมของท่านจัดอยู่ประเภทไหนสามารถสร้างได้หรือไม่ในทาง ปฏิบัติขอแนะนำให้นำโฉนด
ที่ดินไปปรึกษาเจ้าหน้าที่ผู้ออกใบอนุญาตโดยตรง เป็นกรณี ๆ ไป ส่วนอีกประเด็นหนึ่งที่จะลืมไม่ได้ก็คือ ดูว่าที่ดินแปลงนั้นใกล้กับวัด
ศาสนสถาน หรือโรงเรียนมากน้อยแค่ไหน ถ้าใกล้มากอาจจะขออนุญาตสร้างโรงงานไม่ได้สิ่งที่ต้องพิจารณาอีกประเด็นหนึ่งก็ คือ
การเลือกซื้อ ที่ดินบริเวณที่สามารถขยายโรงงานได้ง่ายในอนาคต กรณีที่ซื้อที่ดินใกล้เขตชุมชนเมื่อกิจการเจริญเติบโตขึ้นการขยายตัว
จะทำได้ยากกว่าการซื้อที่ดินที่ห่างไกลแหล่ง ชุมชน เนื่องจากที่ดินใกล้เขตชุมชนมีราคาแพง และจะมีสิ่งปลูกสร้างโดยรอบเพิ่มขึ้นอย่าง
รวดเร็วการพิจารณาซื้อที่ดินที่ภาครัฐให้การส่งเสริม การลงทุนก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์ในการลงทุนด้านอื่น ๆ เช่น
เรื่องภาษี เรื่องเครื่องจักร เป็นต้น


2.
ขนาด รูปร่าง และระดับของที่ดิน สิ่งต่อมาที่ต้องพิจารณา คือ ตัวที่ดิน ได้แก่ลักษณะทางกายภาพของที่ดิน ขนาดความกว้าง ความลึก
รูปร่างและระดับ ของที่ดิน สิ่งเหล่านี้สำคัญมาก เช่น ถ้าที่ดินมีลักษณะเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว (หน้าแคบ แต่ลึก) ก็จะมีปัญหาในเรื่องเทศบัญญัติเกี่ยวกับ
ระยะร่นด้าน ข้าง(
Set Back) ทำให้ได้ตัวโรงงานที่แคบหรือมีพื้นที่น้อยกว่าที่ต้องการได้ ยกตัวอย่าง เช่น ต้องการสร้างโรงงานขนาดพื้นที่ 2,000 ตารางเมตร ซึ่งตามกฎหมายแล้ว ถ้าโรงงานมีพื้นที่มากกว่า 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป จะต้องมีที่ว่างห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 10 เมตร
โดยรอบทุกด้าน ให้ลองเปรียบเทียบการสร้างโรงงานบนที่ดิน 2 แปลงนี้ดู
จากรูปจะเห็นว่าที่ดินทั้งสองแปลงนั้น สร้างโรงงานได้ขนาดพื้นที่ 2,000ตารางเมตรเท่ากัน แต่ที่ดินแปลงที่ 1 ซึ่งมีหน้ากว้าง 36 เมตร ต้องใช้ที่ดินถึง 3 ไร่ 1 งาน 5 ตารางเมตร ในขณะที่แปลงที่ 2 เป็นที่ดินหน้ากว้าง
60
เมตร ใช้ที่ดินเพียง 2 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวาเท่านั้น เท่ากับว่าประหยัดค่าที่ดินไปได้ถึง 2 งาน 55 ตารางวา ดังนั้นในการเลือกซื้อที่ดินควรเลือก
ที่ดินที่มีลักษณะ รูปร่างใกล้เคียงกับสี่เหลี่ยมจัตุรัส จึงจะใช้ประโยชน์ที่ดินคุ้มค่ากว่าที่ดินที่มีรูปร่างยาวเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว ส่วนที่ดินแบบอื่นที่พึง
หลีกเลี่ยง ได้แก่ ที่ดินรูปชายธง ที่ดินรูปสี่เหลียมคางหมู เป็นต้น เพราะจะใช้ประโยชน์ที่ดินได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทางที่ดีก่อนตัดสินใจซื้อควร
ทดลองวาง
Lay – out ของโรงงานดูก่อน และอย่าลืมเผื่อพื้นที่  สำหรับการขยายตัวในช่วง 3 – 5 ปี ด้วย
ระดับของที่ดินควรเป็นที่สูงอย่าง น้อย
ควรสูงกว่าระดับถนนในละแวกนั้น เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในหน้าฝน ให้สอบถามสถิติน้ำท่วมสูงสุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมาดูด้วย ถ้าที่ดินมีระดับ
ต่ำ กว่าที่ต้องการก็ควรจะถมดินเพิ่มเติม แต่ต้องตรวจสอบความพร้อมของดินที่จะถมและเมื่อถมแล้วก็สามารถก่อสร้างได้เลย ไม่ต้องรอให้ดินทรุดตัว
เพราะเราสามารถสร้างโรงงานอยู่บนเสาเข็มที่ตอกลง ไปในชั้นดินแข็งที่ลึกลงไปใต้ดิน (เช่น ในกทม. ลึกประมาณ 12 เมตร) ไม่ได้วางบนดินที่ถมเอา
ไว้จึงไม่ต้องกลัวว่าพื้นโรงงานจะ ทรุดตัว
3. การเข้าถึง ในการพิจารณาเลือกซื้อที่ดิน สิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษก็คือ ทางเข้าออกที่สะดวก และมีขนาดกว้างพอที่จะให้รถขนวัตถุดิบและ
สินค้าเข้า ไปได้นอกจากนั้นควรตรวจสอบว่า ทางเข้าออกนั้นเป็นทางสาธารณะจริงหรือไม่ เพื่อป้องกันการซื้อที่ตาบอดเข้าออกไม่ได้
4. ระบบสาธารณูปโภค ในการเลือกซื้อที่ดินสร้างโรงงานนั้น ที่ดินที่ท่านเลือกซื้อควรจะมีระบบสาธารณูปโภครองรับอย่างครบถ้วน ทั้งไฟฟ้า
น้ำประปาและโทรศัพท์ โดยสามารถตรวจสอบได้จาก การไฟฟ้า การประปาและองค์การโทรศัพท์ในเขตพื้นที่นั้น ๆ ว่ามีขนาดและจำนวนของระบบ
ต่าง ๆ รองรับเพียงพอหรือไม่หากไม่เพียงพอจะต้องทำการขยายเขต ซึ่งจะต้องเสียทั้งค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมและต้องเสียเวลารอนาน ซึ่งอาจจะมีผลกระทบ
ต่อแผนการผลิตของท่านได้
แหล่งน้ำที่จะใช้ในการผลิต หรือน้ำกิน น้ำใช้ ก็มีความสำคัญมากเช่นกันกรณีที่บริเวณนั้นยังไม่มีระบบประปารองรับ หรือ
มี แต่ไม่เพียงพอต่อการใช้งานอาจจะต้องสร้างบ่อ หรือถังกักเก็บน้ำขึ้นมาใช้เอง ก็ต้องพิจารณาค่าใช้จ่ายในส่วนที่เพิ่มเติมนี้ด้วย
5.สภาพแวดล้อม ก่อนซื้อที่ดิน ควรพิจารณาสภาพแวดล้อมโดยรอบด้วยว่า เมื่อสร้างโรงงานไปแล้วจะเกิดผลกระทบต่อเนื่องอย่างไรบ้าง เช่น ถ้ามี
ชุมชน บ้านเรือนที่พักอาศัยอยู่ใกล้เกินไป แล้วโรงงานของท่านมีเสียงดัง มีอากาศเป็นพิษ กลิ่นเหม็น มีฝุ่น ควัน หรือมีน้ำเสียที่เกินมาตรฐาน ชาวบ้าน
อาจจะร้องเรียนมีปัญหากับชุมชนรอบข้าง ทำให้การผลิตต้องหยุดชะงักจนถึงขั้นปิดโรงงานได้ การสร้างโรงงานเพื่อป้องกันมลพิษเหล่านั้นไม่ให้
เกิดขึ้นเลยก็สามารถทำ ได้แต่อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายสูงเกินไป ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้นจึงควรชั่งน้ำหนักดูว่าจะเลือกตั้งโรงงานในพื้นที่นั้น หรือ
เลือก ที่อื่นที่ไม่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว
6. เรื่องอื่น ๆ ยังมีข้อที่ควรพิจารณาในการเลือก ซื้อที่ดินในด้านอื่น ๆ อีก เช่น การดูเรื่องฮวงจุ้ยว่า ที่ดินแปลงที่เราเลือกมีความเหมาะสมที่จะตั้ง
โรงงานหรือไม่ การเลือกที่ตั้งไม่ดีอาจจะมีผลกระทบต่อกิจการได้ซึ่งศาสตร์ของฮวงจุ้ยโดย เนื้อแท้ก็คือการนำหลักพื้นฐานมาจากการใช้งานจริงได้
สะดวกและปลอดภัยมา ใช้ เช่น ไม่ควรสร้างอาคารบนที่ดินตรงกับทางสามแพร่งเพราะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุรถชน ได้ง่าย เป็นต้น

รวยด้วยอสังหา บทที่ 18: รวยวงจรชีวิตอสังหาริมทรัพย์ บทเรียนเมืองนอก

          ในโอกาสที่ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจดูเหมือนจะเกิดขึ้นในประเทศตะวันตก ซึ่งเป็นศูนย์รวมเศรษฐกิจโลกในเวลานี้ กำลังแผ่ขยายผลลบมาสู่ประเทศที่อ่อนด้อยกว่าอย่างประเทศไทย การศึกษาถึงวงวัฏจักรอสังหาริมทรัพย์ในอดีต อาจข่วยให้ประเทศไทยสามารถพิจารณาหาแนวทางการป้องกันปัญหาในอนาคต
            วงจรชีวิตอสังหาริมทรัพย์ที่มีขึ้น ๆ ลง ๆ เกิดขึ้นและหายไปได้อย่างไรในแต่ละประเทศนั้น ผู้เขียนได้รวบรวมจากประสบการณ์จากหลายประเทศ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนและเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบ
ประสบการณ์วัฏจักรโลก
            ประสบการณ์ของวัฏจักรอสังหาริมทรัพย์โลกนี้ แสดงให้เห็นถึงในกรณีประเทศชั้นนำต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศตะวันตก ซึ่งเป็นประเทศหลักของระบบทุนนิยมโลก อันได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อังกฤษ รวมทั้งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่และส่งผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรง
            ออสเตรเลีย มีประสบการณ์ของวัฏจักรอสังหาริมทรัพย์มาหลายครั้ง โดยในช่วงระหว่างปี 2511-2517 โดยเกิดการระบาดขนานใหญ่ของการซื้ออสังหาริมทรัพย์ (คงเนื่องมาจากการเติบโตขนานใหญ่ของเศรษฐกิจของประเทศและการลงทุนจากต่างประเทศ) การเติบโตในครั้งนั้นเป็นปรากฏการณ์ที่คึกคักที่สุด แต่ก็อยู่ได้มาจนถึงการตกต่ำสุดขีดในปี 2523 (Daly, 1982: 1) และในอีกครั้งหนึ่งในห้วงปี 2533 การเติบโตทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นอย่างสูงทั้งนี้สังเกตได้จากการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ทำให้การลงทุนอสังหาริมทรัพย์เกิดขึ้นอย่างขนานใหญ่ มีการซื้ออสังหาริมทรัพย์กับอย่างบ้าคลั่ง และสถานการณ์ก็กลับตกต่ำลงอีกใม่กี่ปีต่อมา (Australian Property Institute, 1994-: 1-4)
            ญี่ปุ่น ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 (พ.ศ.2503) อสังหาริมทรัพย์ในญี่ปุ่นเติบโตอย่างโดดเด่น โดยในบางปีราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น 20% ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจอื่น ๆ ต่างหันมาลงทุนในอสังหาริมทรัพย์กันขนานใหญ่ การเก็งกำไรในที่ดินแพร่หลายเป็นอย่างมาก (Hanayama, 1986: 33). แต่อสังหาริมทรัพย์ก็ตกต่ำลงในระยะหนึ่ง และกลับทมาเติบโตอีกครั้งในช่วงปี 2515-2516 ซึ่งมีการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก การเติบโตของอสังหาริมทรัพย์ญี่ปุ่นมาสิ้นสุดในช่วงปี 2533 ช่วงหลังสงครามอ่าวเปอร์เซีย ทำให้อสังหาริมทรัพย์ญี่ปุ่น “ซึม” ยาวไปอีกราว 15 ปี (เริ่มตื่นตัวอีกครั้งก่อน พ.ศ.2550)
            สิงคโปร์ ได้เกิดปรากฏการณ์เติบโตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ใน 2 ช่วงสำคัญคือ ช่วง พ.ศ.2523-2526 ซึ่งในช่วงนั้นราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น 3 เท่าตัวในระยะเวลา 3 ปี และช่วงปี 2536-2539 ซึ่งมีการขยายตัวครั้งใหญ่ (Zhang, 2002: 24) ดูเหมือนว่าอสังหาริมทรัพย์และเศรษฐกิจโดยรวมของสิงคโปร์ ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และอื่น ๆ ด้วย และแม้สิงคโปร์จะเป็นประเทศเล็ก ๆ แต่ก็มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคนี้เช่นกัน โดยในระยะหลังวิกฤติ ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา สิงคโปร์เริ่มออกไปลงทุนในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของประเทศเพื่อนบ้านและในภูมิภาคอื่น
            สวีเดน ประเทศนี้ตั้งอยู่ห่างไกลออกไป แต่ก็มีปรากฏการณ์วัฏจักรที่คล้าย ๆ กัน คือ มีห้วงของการ “บูม” ที่ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงหลังของทศวรรษ 1980 หรือ ช่วง พ.ศ.2523-2532 (Jonung and Stymne, 1997: 22) ปรากฏการณ์เติบโตของสวีเดนนี้เกิดขึ้นเนื่องจากตลาดการเงินได้รับการผ่อนผันให้สามารถนำเงินมาลงทุนในภาคธุรกิจอื่น นอกจากนี้ยังมีการผ่อนปรนมาตรการด้านดอกเบี้ย  และมาตรการจูงใจด้านภาษี ทำให้เกิดการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์อย่างขนานใหญ่
            และด้วยการเติบโตของตลาดอย่างขนานใหญ่ ทำให้ตลาดเกิดอาการร้อนแรงเกินไป ค่าของเงินสกุลโครนาของสวีเดนจึงอ่อนตัวลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ตลาดหลักทรัพย์เกิดอาการ “ช็อค” ตามมาด้วยความเสียหายต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วง พ.ศ.2532-2534 ภาวะการลงทุนที่ขยายตัวอย่างขนานใหญ่ด้านอสังหาริมทรัพย์ จึงกลายเป็นการลงทุนเกินตัว และราคาอสังหาริมทรัพย์เริ่มตกต่ำลง (Pornchokchai, 2004: 50-51) ผลกระทบที่ตามมาลามไปถึงภาคธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่น อันได้แก่ ผู้รับเหมาก่อสร้าง กิจการเฟอร์นิเจอร์ การตกแต่ง ฯลฯ และเมื่อเกิดการ “ช็อค” อัตราดอกเบี้ยที่เคยต่ำก็ถีบตัวสูงขึ้น ทำให้การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ขาดความน่าสนใจอีกต่อไป
            อังกฤษ  ประเทศนี้มีประสบการณ์อันยาวนานโดยเฉพาะช่วงปี 2464 – 2540 (Key, 1999: 2, 51) จากปรากฏการณ์เกือบร้อยปีชี้ให้เห็นว่า วัฏจักรอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้ “ราบรื่น” อย่างเสมอต้นเสมอปลาย บางห้วงเวลาอาจสั้น บางห้วงก็อาจยาวนานมากพอสมควร แต่มีข้อสรุปสำคัญก็คือ มีปรากฏการณ์ของวัฏจักรอย่างแน่ชัดและจริง ระยะเวลาในแต่ละห้วงของวัฏจักร อาจกินเวลา 4 – 12 ปี โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 8 ปี การ “บูม” จะเป็นในช่วง 2-7 ปี และการตกต่ำจะเป็นในช่วง 2-9 ปี  ประสบการณ์ของอังกฤษ ได้ข้อสรุปว่า วัฏจักรอสังหาริมทรัพย์ และวัฏจักรเศรษฐกิจนั้นมีความสัมพันธ์กัน โดยวัฏจักรอสังหาริมทรัพย์จะตามหลังวัฏจักรเศรษฐกิจ เพราะอสังหาริมทรัพย์เป็นตัวแปรตาม ขณะที่เศรษฐกิจเป็นตัวแปรอิสระ
            สหรัฐอเมริกา อาจกล่าวได้ว่าประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาชี้ว่า วัฏจักรอสังหาริมทรัพย์เกิดทุกรอบ 18 ปี (Foldvary, 2002: 9) แต่ประสบการณ์ในระยะ 20-30 ปีหลังควรจะได้รับการศึกษาเป็นพิเศษ อาจกล่าวได้ว่า ในช่วงปี 2525 สหรัฐอเมริกาได้ผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจมาได้เพราะการที่มีมาตรการทางการเงินที่เข้มงวด อย่างไรก็ตามวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ครั้งใหญ่ในช่วงปี 2531-2534 เกิดขึ้นเนื่องจากการผ่อนปรนมาตรการทางการเงิน ทำให้เกิดการกู้เงินกันอย่างมหาศาลแต่ขาดวินัยทางการเงิน บริษัทอำนวยสินเชื่อ(Saving and Loan Companies) จำนวนมากล้มละลายกลายเป็น Saving and Loan Crisis  อย่างไรก็ตามภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์กระเตื้องขึ้นในภายหลังเนื่องจากการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ทางด้านสารสนเทศ ทำให้การรับรู้ปัญหาต่าง ๆ เท่าทันกันมากขึ้น (Baier, 2001: 11) อสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาเติบโตอย่างขนานใหญ่อีกครั้งตั้งแต่ ปี 2535 จนตกต่ำอีกครั้งในปี 2550 อันเนื่องการขาดวินัยทางการเงินอีกครั้งหนึ่ง
ตลาดสหรัฐอเมริกาล่าสุด
            การเปลี่ยนแปลงราคาที่อยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกานับเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งในขณะนี้ เนื่องจากเป็นเครื่องชี้ภาวะสำคัญของสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์และภาวะเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจนี้ ซึ่งหากเกิดปัญหา อาจส่งผลกระทบไปทั่วโลกได้ และเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2551 ทางสหรัฐอเมริกาได้นำเสนอผลการสำรวจล่าสุด (AREA: 2551-1)
            จากข้อมูลของสำนักงานติดตามวิสาหกิจที่อยู่อาศัยของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา พบว่า ราคาที่อยู่อาศัยในเดือนสิงหาคม ตกต่ำกว่าเดือนกรกฎาคมประมาณ 0.6% ถ้าตกต่ำลงในอัตรานี้ตลอดไป ในอีก 12 เดือนข้างหน้า ราคาที่อยู่อาศัยอาจตกลงไปถึงราว 7% อย่างไรก็ตามในช่วง 12 เดือนก่อนหน้านี้ (สิงหาคม 2550 – สิงหาคม 2551) ราคาที่อยู่อาศัยลดลงไปประมาณ 5.9%
            ราคาที่อยู่อาศัยทั่วสหรัฐอเมริกาวันนี้ ตกต่ำลงไปถึงระดับเดือนกันยายน 2548 หรือเท่ากับรอบ 35 เดือนก่อนหน้านี้ ราคาที่อยู่อาศัยสหรัฐอเมริกาเริ่มตกต่ำลงเมื่อเดือนเมษายน 2550 และตกต่ำลงมาโดยตลอด ยกเว้นช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ที่มีปรากฏการณ์ตีดตัวขึ้นเล็กน้อย แต่หลังจากนั้น ก็กลับตกต่ำมาลงโดยตลอดอีกจนถึงปัจจุบัน
            หากพิจารณาในรายละเอียด จะพบว่าการตกต่ำของที่อยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกานั้น บางที่ไม่ได้ลดลงนัก และบางที่ลดลงมากจนน่าตกใจ
            ภูมิภาคแปซิฟิค ในรอบ 12 ปีที่ผ่านมา ราคาลดต่ำลงอย่างน่าตกใจถึงประมาณ 19.4% และเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมที่ผ่านมา ก็ลดลงถึง 1.8% แสดงว่าในภูมิภาคนี้มีปัญหาหนักมาก ภูมิภาคนี้ได้แก่มลรัฐฮาวาย อลาสก้า วอชิงตัน อารีกอนและโดยเฉพาะแคลิฟอร์เนีย ซึ่งถือว่ามีการตกต่ำหนักมาก
            ภูมิภาคอื่น ๆ มีการตกต่ำไม่มากนัก ที่ตกต่ำรองลงมากได้แก่มลรัฐแถบเทือกเขา ตกต่ำลง 6.7% ในรอบ 12 เดือน และเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ตกต่ำลง 0.8% ภูมิภาคนี้ประกอบด้วยมลรัฐมอนทานา ไอดาโฮ ไวโอมิง เนวาดา ยูทาห์ โคโรราโด อริโซนาและนิวเม็กซิโก
            อีกภูมิภาคหนึ่งที่ตกต่ำลงพอ ๆ กันคือ ภูมิภาคแอตแลนติกใต้ อันประกอบไปด้วย มลรัฐเดลาแวร์ มารีแลนด์ ดิสตริกออฟโคลัมเบีย เวอร์จิเนีย คาโลไลนา จอร์เจียและโดยเฉพาะฟลอริดา ที่มีการตกต่ำมากเป็นพิเศษ๋
            ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ภูมิภาคที่มีการตกต่ำน้อยเป็นพิเศษ ได้แก่ ภูมิภาคกลาง-ตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งตกต่ำลงเพียง 0.2% เท่านั้น และเพิ่งรับรู้การตกต่ำลงเมื่อไม่นานมานี้เอง แต่เดือนล่าสุด (กรกฎาคม-สิงหาคม 2551) ราคาบ้านตกต่ำลง 0.7%  ภูมิภาคนี้ประกอบด้วยมลรัฐโอกลาโฮมา อาคันซอส์ เท็กซัส และหลุยเซียนา
            ส่วนภูมิภาคที่เมื่อเดือนก่อนหน้า (กรกฎาคม-สิงหาคม 2551) ตกต่ำไปเพียง 0.1% เท่านั้น ได้แก่ภูมิภาคกลางตะวันออกเฉียงเหนือ อันได้แก่มลรัฐมิชิแกน วิสคอนซิน อิลลินอยส์ อินเดียนาและโอไฮโอ ซึ่งอยู่แถวทะเลสาบเกรทเลค อย่างไรก็ตามในรอบ 12 เดือน (สิงหาคม 2550-2551) ราคาลดต่ำลงไปราว 3.5% ซึ่งถือว่าน้อยมาก
            โดยสรุปแล้วมลรัฐที่มีปัญหาหนักหนาที่ควรจับตาเป็นพิเศษก็คือแคลิฟอร์เนียและฟลอริดา เพราะมีการซื้อขายและการเก็งกำไรมากเป็นพิเศษ อาจกล่าวได้ว่าราคาบ้านในสหรัฐอเมริกาคงจะตกต่ำลงอย่างต่อเนื่องอีกในอนาคตอันใกล้ และหากคาดการณ์จากปรากฏการณ์ที่ผ่านมา ราคาอสังหาริมทรัพย์ในปี 2552 อาจตกต่ำลงประมาณ 7%
ปรากฏการณ์บ้านว่างในอังกฤษ
            สิ่งที่น่าสนใจล่าสุดของอังกฤษ ก็คือ มีปรากฏการณ์บ้านว่าง หรือบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว แต่ไม่มีใครเข้าอยู่อาศัย โดยมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ในพื้นที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่งในเขตอีสท์มิดแลนด์ของประเทศอังกฤษ ในประเทศไทย (AREA, 2008-2)
            ผลการศึกษาในอังกฤษพบว่า บ้านว่างในพื้นที่ศึกษาส่วนมากเป็นทาวน์เฮาส์และบ้านแฝด ซึ่ง 58% สร้างมาตั้งแต่ปี 2483 และ 88% อยู่ในเขตเมือง ผู้ที่ซื้อหรือสร้างเพื่ออยู่อาศัยมีเพียง 35% มีอีก 31% ที่ซื้อเพื่อการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ 18% ได้รับมรดกตกทอดมา นอกนั้นเป็นเหตุผลอื่น
            มีเจ้าของบ้านเพียง 19% ที่คิดจะย้ายเข้าไปอยู่เองในอนาคต ที่เหลือต้องการขายหรือให้เช่าเป็นหลัก (61%) แสดงให้เห็นว่า การครอบครองบ้านว่างนั้น ไม่ได้เพื่อการใช้สอย แต่เพื่อการลงทุเป็นสำคัญในปัจจุบัน
            เจ้าของบ้านราวครึ่งหนึ่ง (48%) เชื่อว่าบ้านของตนยังจะว่างต่อไปอีกไม่เกิน 6 เดือน ที่เหลือคิดว่าคงจะนานกว่านั้นหรือไม่อาจทราบได้แน่ชัด และขณะนี้มีบ้านว่างประมาณสองในสาม (63%) กำลังติดประกาศขายหรือให้เช่าอยู่ แต่ยังไม่สำเร็จ และหลายรายเห็นว่าภาวะตลาดที่อยู่อาศัยที่ตกต่ำลงในขณะนี้ ทำให้การขายบ้านเก่ายิ่งยากเข้าไปใหญ่
            การที่บ้านว่างยังไม่สามารถขายได้ก็เพราะมีสภาพทรุดโทรม จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงก่อน (27%) นอกนั้นเป็นเพราะเหตุผลอื่น อย่างไรก็ตามทรัพย์สินประมาณ 63% กำลังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงให้มีสภาพดีขึ้น
            การที่มีบ้านว่างอยู่ในพื้นที่อาจเป็นปัญหาต่อตัวทรัพย์สินเองในแง่ที่ทำให้มูลค่าทรัพย์สินลดลง การบุกรุก อัคคีภัย และสภาพความเสื่อมโทรม เป็นต้น และส่งผลกระทบต่อชุมชนในแง่การเป็นที่ส้องสุมของคนจรจัด ทำให้มูลค่าของทรัพย์สินโดยรอบลดลง และทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่ปล่อยให้บ้านว่างไว้โดยไม่ได้ช่วยตอบสนองความต้องการที่อยู่อาศัย เป็นต้น
            เจ้าของบ้านว่างราวสองในสามเคยติดต่อองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับบ้านว่างของตน โดยส่วนมากติดต่อในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เจ้าของทรัพย์สินอยากให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นช่วยเหลือในการสนับสนุนเงินทุน (กู้ยืม) เพื่อการปรับปรุงที่อยู่อาศัยเพื่อให้สามารถขายหรือให้เช่าต่อไป
            ในเชิงนโยบายรัฐบาลอาจซื้อทรัพย์สินเหล่านี้ ซึ่งน่าจะมีราคาถูกมา “ใส่ตะกร้าล้างน้ำ” ขายใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ รัฐบาลยังควรทำการสำรวจบ้านว่างให้มีข้อมูลที่ชัดเจนประกอบการวางแผนเพื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย และถ้าปัญหาเศรษฐกิจในอังกฤษและยุโรปขยายตัวออกไป ปรากฏการณ์บ้านว่างก็จะเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย
การวิเคราะห์เปรียบเทียบ พ.ศ.2542-2551
            จากการนำราคาที่อยู่อาศัยและที่ดินของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา อังกฤษและญี่ปุ่นมาเปรียบเทียบกันในช่วง10 ปีล่าสุดเพื่อพิจารณาถึงวัฏจักรอสังหาริมทรัพย์ ได้ข้อสรุปที่สำคัญดังนี้
            1. ราคาทรัพย์สินในอังกฤษและสหรัฐอเมริกาในช่วงปี 2542-2550 เพิ่มขึ้น สวนทางกับการปรับลดราคาลงของราคาที่ดินในญี่ปุ่น
            2. อาจกล่าวได้ว่าในช่วงที่ญี่ปุ่นกำลังรุ่งโรจน์ในยุคก่อนปี 2534 นั้น สถานการณ์ในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษกลับย่ำแย่ และนับแต่ปี 2534 เป็นต้นมา ราคาที่ดินในญี่ปุ่นก็ตกต่ำต่อเนื่องมา ในขณะที่ราคาบ้านในสหรัฐอเมริกากลับเพิ่มขึ้นนับแต่ช่วงดังกล่าว ส่วนในอังกฤษ ราคาบ้านเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัดนับแต่ปี 2540 เป็นต้นมา
            3. และจนกระทั่งเมื่อเร็ว ๆ นี้สถานการณ์จึงเริ่มเปลี่ยนแปลงในขั้นรากฐาน กล่าวคือ การกลับไปลงทุนใหม่ในญี่ปุ่นเองมีมากขึ้น ทำให้ราคาที่ดินขยับตัวขึ้นนับแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ในขณะที่ราคาบ้านในสหรัฐอเมริกาเริ่มตกตั้งแต่เดือนเมษายน 2550 และราคาบ้านในอังกฤษเริ่มเห็นการตกต่ำในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550
            4. การตกต่ำของทรัพย์สินในอังกฤษโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาเห็นได้ชัดเจนจากการขาดวินัยทางการเงิน ที่ปล่อยให้มีการอำนวยสินเชื่อ 100% ของหลักประกัน เรื่อยไปจนถึง 120% และสุดท้ายคือการอำนวยสินเชื่อที่ให้ผ่อนชำระเพียงเฉพาะดอกเบี้ย ทรัพย์สินจึงถูกนำไปอำนวยสินเชื่อซ้ำตามความคาดหวังว่ามูลค่าจะเพิ่มขึ้นตลอดเวลาโดยไม่นำพาต่อความจริงที่ว่า อสังหาริมทรัพย์มีธรรมชาติเป็นวงวัฏจักร
            5. ตัวอย่างวิกฤติที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปี 2531-2534 ในสหรัฐอเมริกาก็คือ Saving and Loans Crisis ซึ่งก็คล้ายกับในกรณีนี้ แต่ผู้บริหารภาคการเงินในสหรัฐอเมริกาก็แสร้งลืมวิกฤติครั้งสำคัญที่เคยเกิดขึ้นนี้
            6. มาตรการ 700,000 ล้านเหรียญสหรัฐที่ทางรัฐบาลสหรัฐอเมริกาจะนำมาใช้นั้น อาจทำให้ความวิบัติของสหรัฐอเมริกาหนักหนาสาหัสยิ่งขึ้น เพราะหากนำเงินไปช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง ได้มีโอกาส “ล้มบนฟูก” เช่นที่เคยทำในประเทศไทยยุคหลังวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 แล้ว ก็เท่ากับเป็นการปล้นประชาชนอเมริกันเอง
            7. สำหรับประเทศไทย จะเห็นได้ว่า นับแต่ปี 2542 เป็นต้นมา สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ก็ฟื้นขึ้น ราคาที่ดินยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้ในปีหลัง ๆ มานี้อัตราการเพิ่มจะลดต่ำลง โดยคาดว่าปี 2551 นี้ จะมีอัตราการเพิ่มเพียง 3.5% ก็ตาม แต่ก็ยังไม่ติดลบ ภาวะในประเทศไทย น่าจะแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เพราะไทยได้รับการควบคุมให้มีวินัยทางการเงินมากกว่า
            8. กรณีการตกต่ำของตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคต่าง ๆ ไม่พึงนำมาพิจารณาถึงกรณี “อารมณ์ความรู้สึก” กับตลาดอสังหาริมทรัพย์ ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงช้า และไม่ได้หวือหวาตามตลาดหลักทรัพย์ ในยามที่อสังหาริมทรัพย์ตกต่ำสุดขีด ก็ตกต่ำเพียงประมาณ 25% ในช่วงปี 2540-2542 เท่านั้น ไม่ได้หายไปครึ่งต่อครึ่ง และสถานการณ์ในปัจจุบันนี้ก็ไม่น่าจะหนักหนาเท่ากับในอดีต
            9. สิ่งที่รัฐบาลพึงทำก็คือ การติดตามธุรกรรมทางการเงินของบริษัทในประเทศไทยที่มีบริษัทขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เพราะไม่ให้ก่ออาชญากรรมผ่องถ่ายทรัพย์สินที่เกิดจากธุรกิจในประเทศไทยไปช่วยบริษัทแม่ จนขาดความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคในไทย การนี้ย่อมไม่ใช่การควบคุมการปริวรรตเงินตรา แต่เป็นการคุ้มครองผู้บริโภค และหวังว่าผู้เกี่ยวข้องคงไม่รอให้ “ล้อมคอกเมื่อวัวหาย”
            10. ในปัจจุบันการลงทุนในด้านอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยก็ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจโครงการเปิดตัวใหม่ รายเดือนของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ AREA ก็ยังพบการเปิดที่สม่ำเสมอ อย่างไรก็ตามการติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิดย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ทั้งนี้เชื่อว่า การเสื่อมทรุดของตลาดอสังหาริมทรัพย์เช่นที่เคยเกิดขึ้นในอดีต จะไม่เกิดขึ้นอีก ยกเว้นการเสื่อมทรุดลงของอสังหาริมทรัพย์ตากอากาศที่อาจเกิดขึ้นได้บ้าง
ข้อพึงสังวรสำหรับประเทศไทย
            จากการศึกษาเรื่องวัฏจักรอสังหาริมทรัพย์ข้างต้น อาจกล่าวได้ว่า ในแง่หนึ่ง ประเทศไทยพึงระวังถึงภาวะวิกฤติที่อาจได้รับผลกระทบจากประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจประเทศไทยตกต่ำไปด้วย โดยอาจไม่สามารถส่งสินค้าทั้งภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรมไปขายได้มากเช่นเดิม และยังส่งผลต่อกำลังการท่องเที่ยวของประเทศเหล่านี้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการพักผ่อนในประเทศไทย
            อย่างไรก็ตาม การมองในแง่ร้ายนี้ก็ย่อมหมายถึงว่าโลกของเรากำลังจะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำสุดขีดเช่นที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 70-80 ปีก่อน อย่างไรก็ตาม ปัญหาอาจไม่ได้เลวร้ายถึงขนาดนั้น ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องจึงไม่ควรตระหนกเกินเหตุ เพราะอาจทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดในการลงทุนได้
            ข้อพึงสังวรก็คือ ในภาวะขณะนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องติดตามสถานการณ์โดยใกล้ชิด จึงจะสามารถตัดสินใจลงทุนหรือหยุดการลงทุนได้ทันการ

วันอาทิตย์

รวยอสังหา บทที่ 17 ประเภทของที่ดิน

ประเภทของที่ดิน

1. ที่ดินของเอกชนรวม ที่ดินที่ยังไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ แต่อาจมีหลักฐานแบบแจ้งการครอบครอง(ส.ค.1) หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3,น.ส.3 ก.)ผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้นและรวมถึงที่ดิน มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิเช่น โฉนดที่ดิน โฉนดแผนที่ โฉนดตราจองและตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว
2. ที่ดินของรัฐ ได้แก่ที่ดินที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ถือกรรมสิทธิรวมทั้งที่ดินรก ร้างว่างเปล่าซึ่งมิได้มีผู้ใดครอบครองเป็นเจ้าของ และสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
สาธารณสมบัติของแผ่นดิน คือทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อ ประโยชน์ร่วมกันเช่นที่ดินรกร้างว่างเปล่าและที่ดินที่มีผู้เวนคืนหรือทอด ทิ้งกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดินทรัพย์สินสำหรับ พลเมืองใช้ร่วมกัน เช่น ทางหลวง ทางน้ำ ทะเลสาบทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน โดยเฉพาะเช่น ศาลากลางจังหวัดโรงทหาร สาธารณสมบัติของแผ่นดินมีคุณสมบัติดังนี้

1. จะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่มีกฎหมายที่ออกเฉพาะให้โอนกันได้
2. ห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดิน เช่นครอบครองทุ่งเลี้ยงสัตว์สาธารณะกี่ปีก็ไม่ได้กรรมสิทธิ
3. ห้ามยึดทรัพย์ของแผ่นดิน
หนังสือสำคัญแสดง กรรมสิทธิในที่ดินมีอยู่4 อย่าง
1. โฉนดแผนที่ เป็นหนังสือแสดงกรรมสิทธิในที่ดินฉบับแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทยออกเมื่อ ร.ศ.120 (พ.ศ. 2445) และ ร.ศ. 127 (พ.ศ.2452) ออกโดย มีการรังวัดทำแผนที่ระวาง ป้องกันการเกิดการทับที่ซ้อนที่ผู้ถือหนังสือนี้มีกรรมสิทธิในที่ดินของตน โดยสมบูรณ์ตลอดไปจนกระทั่งปัจจุบัน

2. โฉนดตราจรอง เป็นหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิในที่ดินออกตามพระราชบัญญัติออกโฉนดตราจอง ร.ศ.124 ประกาศใช้ในมณฑลพิษณุโลกที่เป็นจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร อุตรดิตถ์ สุโขทัย และบางส่วนของนครสวรรค์ในจังหวัดอื่นไม่มีการออกโฉนดตราจองการรังวัดทำแผนที่ไม่มีระวางยึดโยงทำเป็นแผนที่รูปลอย เป็นแปลงๆ ไป

3. ตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้วออกให้ในกรณีที่บุคคลได้รับอนุญาต ให้จับจองเป็นใบเหยียบย่ำมีอายุ 2 ปีหรือผู้ได้รับตราจองที่เป็นใบอนุญาต มีอายุ 3 ปีและได้ทำประโยชน์ในที่ดินภายในกำหนดแล้วมีสิทธิจะได้รับตราจองที่ตราว่า ได้ทำประโยชน์แล้ว

4. โฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน มี 6 แบบ น.ส.4 , น.ส. 4 ก. ,น.ส. 4 ข., น.ส. 4ค.,น.ส. 4 ง. (ออกโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 15,17 ปัจจุบันไม่ออกแล้ว) น.ส. 4 จ.(ออกโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 34) ปัจจุบันโฉนดที่ดินออกตามแบบ น.ส.4 จ.

วันศุกร์

รวยด้วยอสังหาบทที่ 16 : สัญญา อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ

แบบฟอร์มสำหรับ ดาวน์โหลด
                                                                   1-สัญญาจองซื้ออสังหาริมทรัพย์
36-สัญญาให้เช่าที่ดินระยะยาว                               2-สัญญาจะซื้อจะขาย(ให้ผู้ขายรับรอง)
37-สัญญาให้ใช้ใช้สิทธิเหนือพื้นดิน1                        3-สัญญาจะซื้อจะขาย(อนุญาติค้าที่ดินก่อนโอน)
38-สัญญาให้ใช้สิทธิเหนือที่ดิน                              4-สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน(แบ่งชำระเป็นงวดๆ)
39-สัญญาให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินแบบที่1                   5-สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน(ที่ดินติดจำนอง)
40-สัญญาจ้างเหมาถมดิน                                    6-สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน(ให้แบ่งแยกก่อนโอน)
41-สัญญาจ้างก่อสร้างบ้านพร้อมสิ่งปลูกสร้างแบบที่1   7-สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน(ระหว่างแบ่งแยก)
42-สัญญาจ้างเขียนแบบก่อสร้างหรือตกแต่ง              8-สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน(วางมัดจำ)
43-สัญญาจ้างทำการก่อสร้าง                               9-สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน(เหมายกแปลง2)
44-สัญญาจ้างที่ปรึกษาออกแบบอาคาร                   10-สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน(แบ่งซื้อ)
45-สัญญาจ้างพัฒนาที่ดินและสร้างสาธารณูปโภค        11-สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน(ตามที่รังวัดได้จริง)
46-สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างบ้านและสิ่งปลูกสร้าง        12-สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน(ตามที่รังวัดได้จริงหรือเหมายกแปลง)
47-สัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคาร                             13-สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน(นส.3ก)
48-สัญญาว่าจ้างสถาปนิกออกแบบแปลน                 14-สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน(เหมายกแปลง)
49-สัญญากู้ยืมเงินจำนองทรัพย์สินเป็นประกัน             15-สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน(กำลังแบ่งแยกระบุความกว้างยาวที่ดิน)
50-สัญญากู้ยืมเงินมีทรัพย์สินค้ำประกัน                     16-สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
51-ค้ำประกันการกู้ยืม                                         17-สัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดิน
52-ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนอง เป็นประกันเฉพาะส่วน18-สัญญาจำนอง
53-สัญญาค้ำประกันผ่อนชำระหนี้(ที่ดินค้ำประกัน)        19-สัญญาจำนองที่ดิน
54-สัญญาให้ปลูกสร้างตึกแถวบนที่ดิน                     20-สัญญาขายฝาก
55-สัญญาโอนสิทธิ                                           21-สัญญาขายฝาก 3
56-หนังสือให้สิทธิอาศัยหรือเก็บกิน1                      22-สัญญาขายฝาก 2
57-สัญญานายหน้าซื้อขายที่ดิน                            23-สัญญาขายฝากทั่วไป
58-สัญญานายหน้าซื้อขายที่ดิน1                          24-สัญญาขายฝากทั่วไปแบบที่ 2
59-หนังสือให้ความยินยอมทำนิติกรรม                    25-สัญญาเช่าซื้อที่ดิน
60-ยินยอมของคู่สมรสแบบที่1                              26-สัญญาเช่าซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 
61-ยินยอมของคู่สมรสแบบที่2                             27-สัญญาเช่าซื้อที่ดินและอาคาร
62-มอบอำนาจทั่วไป                                        28-สัญญาเช่าที่ดิน1
63-หนังสือมอบอำนาจช่วง                                 29-สัญญาเช่าที่ดิน 2 
                                                                 30-สัญญาเช่าที่ดิน3                         
                                                                  31-สัญญาเช่าที่ดิน 
                                                                 32-สัญญาเช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง1     
                                                                  33-สัญญาเช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง2
                                                                  34-สัญญาเช่าที่ดินเพื่อทำประโยชน์               
                                                                  35-สัญญาเช่าที่ดินระยะยาว