ตอกเสาเอก (เสาฤกษ์)
ในอดีตบ้านเรือนล้วนแต่เป็นบ้านที่ปลูกสร้างด้วยไม้ เพราะไม้เป็นวัสดุที่หาง่าย ราคาถูก ดังนั้นเสาของตัวบ้านจึงเป็นเสาไม้ พิธีฤกษ์ลงเสาเอกแต่ก่อนก็คือ ฤกษ์เวลาที่เรานำเสา(ไม้)หลักของบ้านหย่อนลงสู่หลุมที่เตรียมเอาไว้ จับให้เสาตั้งตรงแล้วเอาไม้ค้ำยันค้ำไว้จากนั้นก็นำดินมากลบหลุมทั้งหมด
แต่ในปัจจุบันนี้ด้วยสภาพแวดล้อมที่มีความปลียนแปลงไป ประกอบกับเทคโนโลยีที่ ทันสมัยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อาคารบ้านเรือนมีความหลากหลาย แตกต่างกันออกไป อีกทั้งอาคารบ้านเรือนไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ส่วนใหญ่ล้วนมีโครงสร้างเป็นคอนกรีตที่เสริมเหล็ก รากฐานของตัวอาคารต่างๆ
จึงต้องมีความเหมาะสมแข็งแรงและสามารถรับน้ำหนักโครงสร้างได้เป็นอย่างดี การปลูกสร้างอาคารทั่วไปจึงต้องมีการตอกเสาเข็มคอนกรึต ต้องมีการเทฐานราก ทำตอม่อ แล้วจึงจะขึ้นเสาโผล่พื้นดินได้ ดังนั้นพิธียกเสาเอก กรณีเกี่ยวกับการตอกเสาเข็ม ส่วนใหญ่จะยึดถือเวลาที่ทำการตอกเสาเข็มต้นแรก เวลาที่ทำการตอกเสาเข็มต้นที่กำหนดให้เป็นเสาเอก (น่าจะเรียกว่า “ฤกษ์” เข็มเอก) การได้มาด้วย(เวลา)ฤกษ์พิธีการนั้นล้วนก็ต้องการความเป็นสิริมงคล ความรุ่งเรือง และความสบายใจให้กับตนและครอบครัว
การกำหนดฤกษ์พิธีการก็มักเกี่ยวข้องกับทิศ เดือน วัน เวลา เช่น ถ้ายกเสาเอกในเดือนอ้าย ยี่ สาม เสาเอก อยู่ทิศอีสาน, ยกเสาเอกในเดือน 4 – 5 – 6 เสาเอก อยู่ทิศอาคเนย์, ยกเสาเอกในเดือน 7 – 8 – 9 เสาเอก อยู่ทิศหรดี, ยกเสาเอกในเดือน 10 – 11 – 12 เสาเอก อยู่ทิศพายัพ
ความสำคัญของฤกษ์พิธีการมักจะถูกกำหนดเป็นเวลาที่แน่นอน เช่น เวลาตอกเสาฤกษ์ คือเวลา 9.09 น. ดังนั้นการเตรียมการต่างๆหน้างาน ที่ไม่มีความพร้อมก็อาจทำให้เกิดปัญหาขลุกขลัก สร้างความคลาดเคลื่อน ส่งผลให้การตอกเสาเข็ม(เสาเอก) ไม่ตรงกันกับเวลาฤกษ์พิธีการที่ได้กำหนดไว้
แต่ในปัจจุบันนี้ด้วยสภาพแวดล้อมที่มีความปลียนแปลงไป ประกอบกับเทคโนโลยีที่ ทันสมัยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อาคารบ้านเรือนมีความหลากหลาย แตกต่างกันออกไป อีกทั้งอาคารบ้านเรือนไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ส่วนใหญ่ล้วนมีโครงสร้างเป็นคอนกรีตที่เสริมเหล็ก รากฐานของตัวอาคารต่างๆ
จึงต้องมีความเหมาะสมแข็งแรงและสามารถรับน้ำหนักโครงสร้างได้เป็นอย่างดี การปลูกสร้างอาคารทั่วไปจึงต้องมีการตอกเสาเข็มคอนกรึต ต้องมีการเทฐานราก ทำตอม่อ แล้วจึงจะขึ้นเสาโผล่พื้นดินได้ ดังนั้นพิธียกเสาเอก กรณีเกี่ยวกับการตอกเสาเข็ม ส่วนใหญ่จะยึดถือเวลาที่ทำการตอกเสาเข็มต้นแรก เวลาที่ทำการตอกเสาเข็มต้นที่กำหนดให้เป็นเสาเอก (น่าจะเรียกว่า “ฤกษ์” เข็มเอก) การได้มาด้วย(เวลา)ฤกษ์พิธีการนั้นล้วนก็ต้องการความเป็นสิริมงคล ความรุ่งเรือง และความสบายใจให้กับตนและครอบครัว
การกำหนดฤกษ์พิธีการก็มักเกี่ยวข้องกับทิศ เดือน วัน เวลา เช่น ถ้ายกเสาเอกในเดือนอ้าย ยี่ สาม เสาเอก อยู่ทิศอีสาน, ยกเสาเอกในเดือน 4 – 5 – 6 เสาเอก อยู่ทิศอาคเนย์, ยกเสาเอกในเดือน 7 – 8 – 9 เสาเอก อยู่ทิศหรดี, ยกเสาเอกในเดือน 10 – 11 – 12 เสาเอก อยู่ทิศพายัพ
ความสำคัญของฤกษ์พิธีการมักจะถูกกำหนดเป็นเวลาที่แน่นอน เช่น เวลาตอกเสาฤกษ์ คือเวลา 9.09 น. ดังนั้นการเตรียมการต่างๆหน้างาน ที่ไม่มีความพร้อมก็อาจทำให้เกิดปัญหาขลุกขลัก สร้างความคลาดเคลื่อน ส่งผลให้การตอกเสาเข็ม(เสาเอก) ไม่ตรงกันกับเวลาฤกษ์พิธีการที่ได้กำหนดไว้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น