วันจันทร์

รวยด้วยอสังหา บทที่ 10 ค่าธรรมเนียม การโอนที่ดิน ค่าภาษี ที่ดิน ที่เกิดขึ้น ณ สำนักงานที่ดิน

             อ่านแล้วรวย  สำหรับ "รวยด้วยอสังหา" ที่พยายามจะแนะนำเรื่องต่างๆที่จำเป็นสำหรับความ รวย ในอสังหา  วันนี้ขอรวบรวมเรื่องค่าใช้จ่ายในการซื้อ-ขาย/โอนที่ดิน
ค่าใช้จ่ายที่เกิด ณ สำนักงานที่ดิน กรณีเป็นบุคคลธรรมดา ตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน )
                  2.ค่าธรรมเนียมการทำนิติกรรม ( ค่าโอน )    
 2 % จากราคาประเมิน หรือราคาขาย แล้วแต่อย่างใดสูงกว่า
                 3.ค่าจดจำนอง ( กรณีจำนองกับสถาบันการเงิน )     
 1% ของมูลค่าที่จำนอง
                4.ค่าอากรแสตมป์ (ชำระอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่าง อากรแสตมป์ หรือธุรกิจเฉพาะ) 
 200 บาท ติดอากรแสตมป์ 1 บาท(0.50%) ตามราคาซื้อขายแต่ ไม่ต่ำกว่าราคาประเมิน
                5. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ( ไม่ต้องชำระหากถือครองเกิน 5 ปี )
3.3% ของราคาซื้อขายที่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมิน
ค่าใช้จ่ายที่เกิด ณ สำนักงานที่ดิน กรณีเป็นนิติบุคคล
                1.ภาษีเงินได้นิติบุคคล ( หัก ณ ที่จ่าย )
1% ของราคาซื้อขาย ( ไม่ต่ำกว่าราคาประเมิน )
                2.ค่าธรรมเนียมการทำนิติกรรม ( ค่าโอน )
2 % จากราคาประเมิน หรือราคาขาย แล้วแต่อย่างใดสูงกว่า
                3.ค่าจดจำนอง ( กรณีจำนองกับสถาบันการเงิน )
1% ของมูลค่าที่จำนอง
                4.ค่าอากรแสตมป์ (ชำระอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่าง อากรแสตมป์ หรือธุรกิจเฉพาะ)
200 บาท ติดอากรแสตมป์ 1 บาท(0.50%) ตามราคาซื้อขายแต่ ไม่ต่ำกว่าราคาประเมิน
                5.ภาษีธุรกิจเฉพาะ ( ไม่ต้องชำระหากถือครองเกิน 5 ปี )
3.3% ของราคาซื้อขายที่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมิน

รายละเอียด เกี่ยวกับค่าธรรมเนียม

เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี มีอยู่หลายกรณีที่สำคัญๆ ได้แก่ การยกเว้นตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 การยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับต่างๆ เป็นต้น  ซี่งมีดังนี้ครับ

เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี ที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์มีดังนี้
1.  เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้
          (1) บ้าน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
          (2) อสังหาริมทรัพย์ตาม (1) พร้อมที่ดิน
          (3) ห้องชุดสำหรับการอยู่อาศัยในอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด


1.  เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้
----------(1) บ้าน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
----------(2) อสังหาริมทรัพย์ตาม (1) พร้อมที่ดิน
----------(3) ห้องชุดสำหรับการอยู่อาศัยในอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
เฉพาะกรณีที่อสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 1,2,3 ได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ภายในปี พ.ศ.2540 และขายทรัพย์สินนั้น ภายหลังจด
ทะเบียนไม่น้อยกว่า 1 ปี (ไม่เกิน 31 ธันวาคม 2550 ตามกฏกระทรวงฉบับที่ 126 พ.ศ.2509 ออกตามความในประมวลรัษฏากร ว่าด้วยการ
ยกเว้นรัษฏากร ข้อ 2(41) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฏกระทรวงฉบับที่ 206พ.ศ.2540


2.การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ขายภายหลังได้มา เกินกว่า 5 ปีได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ( 3.3%) เว้นแต่จะเป็นการขายของผู้ได้รับอนุญาต
จัดสรรที่ดินตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 หรือการขายอสังหาริมทรัพย์พร้อมที่ดิน ที่เป็นการสร้างเพื่อขาย หรืออสังหาริมทรัพย์
ที่แบ่งไว้เพื่อขาย โดยได้จัดทำ ถนน หรือ สาธารณูปโภคอื่นๆ หรือ ให้ค่ำมั่นว่าจะจัดให้มีสิ่งดังกล่าว และการขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งผู้ขาย
เป็นนิติบุคคล มีไว้ในการประกอบกิจการ จึงจะไม่ได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ


3. เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการ ให้โดยเสน่หาที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล หรือเมืองพัทยาหรือการปกครองท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมาย
จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ทั้งนี้ เฉพาะเงินได้จากการขายในส่วนที่ไม่เกิน 200,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น


4. เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตนโดยไม่มีค่าตอบแทน บุตรชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมด้วย


5. เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่มี ค่าตอบแทนให้แก่มูลนิธิชัยพัฒนา


6. เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่มี ค่าตอบแทนให้แก่มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมนาชินีนาถ


7. เงินค่าทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะที่ดินที่ต้องเวนคืน และอสังหาริมทรัพย์อื่นบนที่ดินที่ต้องเวนคืน


8. เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยโดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามจำนวน ที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้เฉพาะที่จ่ายให้แก่
       (1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
       (2) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
       (3) นิติบุคคลเฉพาะกิจซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจ เพื่อแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจ ดังกล่าว
เข้ารับช่วงสิทธิเป็นเจ้าหนี้เงินกู้แทนกองทุนรวมตาม (1) หรือ (2) ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์หรือนายจ้าง


9. เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ หรือนายจ้างสำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อเช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยโดยจำนองอาคาร
ที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ซึ่งรวมถึงอาคารพร้อมที่ดินด้วย เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 40,000 บาท ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด


10. เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดลพบุรี และจังหวัดสระบุรี


11. เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ในโครงการเขื่อนคลองท่าด่าน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครนายก


12. ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการขาย แลกเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่มิใช่บริษัท
หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในกรณีดังต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นการขายตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร


13. การให้ การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน


14. การแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์กับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะในกรณีที่ส่วนราชการ
หรือรัฐวิสาหกิจนั้นมิได้มีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นอย่างอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์ที่แลกเปลี่ยนนั้น


15. ผู้มีเงินได้ที่ได้รับเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 4 (6) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์
ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541 ซึ่งได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (5) แห่งประมวลรัษฎากร และได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะไว้แล้ว


16. เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่สถาบันอุดมศึกษาเอกชน และการบริจาคอสังหาริมทรัพย์ให้แก่สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษา
เอกชน พ.ศ.2546 ทั้งนี้ สำหรับการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2546 เป็นต้นไป
17. เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่สภากาชาดไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น