|
วันอาทิตย์
รวยอสังหา บทที่ 25 เป็นนายหน้าอสังหา ควรเป็นสมาชิก Real estate broker associate
วันพฤหัสบดี
รวยอสังหา บทที่ 24 Factory for rent or sale ขายหรือให้เช่าโรงงาน
ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีมาก ห่างจากสนามบินสุวรรณภูมิเพียง 10 นาที การคมนาคมสะดวก สามารถเชื่อมต่อกับเส้นทางหลักทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑล บรรยากาศดี อยู่ติดเขตลาดกระบัง
โรงงานและคลังสินค้าได้รับการออกแบบมาอย่างดี มีการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องสาธารณูปโภคที่จำเป็นครบครัน รูปแบบและโครงสร้างอาคารทันสมัยได้มาตรฐานสากล เหมาะสำหรับนักลงทุนชาวต่างชาติและผู้ประกอบการรายใหม่ที่ดำเนินธุรกิจขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมซึ่งสามารถขอใบรับรองได้
โครงสร้างของอาคาร พื้นที่ แบ่งออกเป็น 3 ยูนิต ได้แก่
อาคาร 1 มีพื้นที่ 2,550 ตร.ม. พร้อมสำนักงาน
อาคาร 2 มีพื้นที่ 1,650 ตร.ม.
อาคาร 3 มีพื้นที่ 2,550 ตร.ม. พร้อมสำนักงาน
อาคาร 1 มีพื้นที่ 2,550 ตร.ม. พร้อมสำนักงาน
อาคาร 2 มีพื้นที่ 1,650 ตร.ม.
อาคาร 3 มีพื้นที่ 2,550 ตร.ม. พร้อมสำนักงาน
วันจันทร์
รวยด้วยอสังหา บทที่ 23 เหล็กเส้นที่คุณ(อาจไม่รู้) long product steel
ประหยัดการใช้เหล็กอย่างไร โดยปกติการพิจารณาเลือกชนิดของเหล็กเส้น ได้แก่ เหล็กเส้นกลม เหล็กข้ออ้อย ชนิด SD30, SD40 และ SD40 และ SD50 จะขึ้นอยู่กับชนิดของโครงสร้างเป็นหลัก และในปัจจุบันมีความนิยมใช้เหล็กเส้นข้ออ้อยมากกว่าการใช้เหล็กเส้นกลมเนื่องมาจากคุณภาพที่ดีกว่า ทั้งด้านแรงดึง และแรงยึดเกาะคอนกรีต ในขณะที่ราคาเท่ากันและในขณะเดียวกันสัดส่วนของการใช้ SD40 ต่อ SD30 ก็มีมากขึ้น เนื่องจากผู้ใช้สามารถซื้อ SD40 ในราคาสูงกว่า SD30 เพียง 20 สตางค์ ต่อ กิโลกรัม แต่มีแรงดึงสูงกว่า ถึง 33 % ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการลดจำนวนการใช้เหล็กและทำให้ต้นทุนโดยรวมถูกกว่าถึง 30 %
รวยอสังหา บทที่ 22 อิฐมวลเบาPCC ดีกว่าอิฐมอญอย่างไร Constructor tips
อิฐมวลเบา PCC ดีกว่า อิฐมอญอย่างไร สำหรับช่าง 1. ก้อนใหญ่กว่าก่อได้เร็วกว่า · ขนาดอิฐมวลเบา 7.5X 20 X 60 ซ.ม. ขนาดอิฐมอญ 7X 15 X3 ซ.ม. · การใช้งานอิฐมวลเบา 8.33 ก้อน /ตร.ม. การใช้งานอิฐมอญ 130-145 ก้อน/ ตร.ม. 2. เทียบพื้นที่เท่ากันเบากว่า เบากว่าอิฐมอญ 2-3 เท่า และเบากว่าคอนกรีต 4-5 เท่า ทำให้สะดวกในการติดตั้งและขนย้าย · น้ำหนักอิฐมวลเบา 45 กก./ ตร.ม. น้ำหนักอิฐมอญ 130 กก./ ตร.ม. 3. งานเสร็จไว ก็ได้รับเงินไว · ความรวดเร็วในการก่ออิฐมวลเบา 15-20 ตร.ม./วัน ความรวดเร็วในการก่ออิฐมอญ 6-12 ตร.ม./วัน สำหรับลูกค้าทั่วไป |
รวยอสังหาบทที่ 21 ซีเมนต์โฟม VS อิฐมวลเบา ในการต่อสร้าง Cementfoam EPS
ว่าด้วยเรื่องราคาก่อนครับ
คำนวนพื้นที่ 3.60ตรม.เอาขนาดมาตรฐานแผ่นซีเมนต์โฟมนะครับ
อิฐมวลเบา 1 ตร.ม. = 8.33 ก้อน หากพื้นที่ 3.60 ตร.ม. ใช้อิฐ 30 ก้อน
โฟมซีเมนต์ 1 แผ่น ขนาด1.20x3.00 x หนา 3 นิ้ว = 395 บาท พื้นที่ 3.60 ตร.ม. แต่มีอุปกรณ์ประกอบอีกคือ ตะแกรงลวด เมตรละ 75 บาท (แบบบาง) ใช้ 2 ด้าน รวม 3.60 ตารางเมตร (75x2x3)+45=495 บาท
สรุปดังนี้ ใช้อิฐมวลเบา 3.60 ตารางเมตร ใช้ 30 ก้อน ค่าใช้จ่าย 1,080.00 บาท
ใช้โฟมซีเมนต์ 3.60 ตารางเมตร ใช้ 1 แผ่น ค่าใช้จ่าย 495+395 = 890 บาท
หมายเหตุว่า โดยรายละเอียดโฟม ขนาด 1.20 * 3.00 ม. ความหนาแน่น 0.8 ปอนด์/ลบ.ม. แผ่นละ 395 บาท คิดเป็น 109 บาท ต่อ 1 ตารางเมตร ถ้าสั่งเกิน 200 แผ่น ส่งกับรถเทรนเลอร์ (ค่าส่งไม่ทราบครับ) แต่ถ้าต้องการต่ำกว่า 200 แผ่น ส่งทาง พกง. ครับ
คำนวนพื้นที่ 3.60ตรม.เอาขนาดมาตรฐานแผ่นซีเมนต์โฟมนะครับ
อิฐมวลเบา 1 ตร.ม. = 8.33 ก้อน หากพื้นที่ 3.60 ตร.ม. ใช้อิฐ 30 ก้อน
โฟมซีเมนต์ 1 แผ่น ขนาด1.20x3.00 x หนา 3 นิ้ว = 395 บาท พื้นที่ 3.60 ตร.ม. แต่มีอุปกรณ์ประกอบอีกคือ ตะแกรงลวด เมตรละ 75 บาท (แบบบาง) ใช้ 2 ด้าน รวม 3.60 ตารางเมตร (75x2x3)+45=495 บาท
สรุปดังนี้ ใช้อิฐมวลเบา 3.60 ตารางเมตร ใช้ 30 ก้อน ค่าใช้จ่าย 1,080.00 บาท
ใช้โฟมซีเมนต์ 3.60 ตารางเมตร ใช้ 1 แผ่น ค่าใช้จ่าย 495+395 = 890 บาท
หมายเหตุว่า โดยรายละเอียดโฟม ขนาด 1.20 * 3.00 ม. ความหนาแน่น 0.8 ปอนด์/ลบ.ม. แผ่นละ 395 บาท คิดเป็น 109 บาท ต่อ 1 ตารางเมตร ถ้าสั่งเกิน 200 แผ่น ส่งกับรถเทรนเลอร์ (ค่าส่งไม่ทราบครับ) แต่ถ้าต้องการต่ำกว่า 200 แผ่น ส่งทาง พกง. ครับ
คุณสมบัติที่ดี ของ cement foam |
1.น้ำหนักเบาในการผลิตผนังซีเมนต์โฟม รั้วซีเมนต์โฟม โฟมคิ้วยัว โฟมแกะสลักเสมือนหิน ที่ผลิตจากโฟมEPS ในการก่อสร้าง ช่วยประหยัดทั้งต้นทุน และระยะเวลาในการก่อสร้าง เพราะโฟม EPS มีน้ำหนักเบา สามารถยก หรือ เคลื่อนย้ายได้ง่าย |
2.ประหยัดไฟ |
วันอาทิตย์
รวยด้วยอสังหา บทที่ 20:ภาระจำยอม real estate legal
ภาระจำยอมในที่ดิน
----------------ภาระจำยอม เป็นทรัพยสิทธิ ประเภทหนึ่ง ที่ตัดทอนกรรมสิทธิ์ ในอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่น อันทำให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น ต้องยอมรับภาระบางอย่างซึ่งกระทบกระเทือนอำนาจกรรมสิทธิ์ เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ในทางกฏหมายแล้ว อสังหาริมทรัพย์ที่ได้ประโยชน์จากภาระจำยอมเรียกว่า " สามยทรัพย์ " ส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในบังคับภาระจำยอมเรียกว่า " ภารยทรัพย์ " ตัวอย่างภาระจำยอมเช่น ยอมให้มีทางเดิน หรือ ทางน้ำ ยอมให้ชายคา หรือ หน้าต่างบุคคลอื่น ล้ำเข้ามาในที่ดินของตน ยอมที่จะไม่ปลูกสร้างอาคาร ปิดบังแสงสว่าง ทางลม แก่ที่ดินข้างเคียง
----------สิทธิ และ หน้าที่ของ เจ้าของภารยทรัพย์มีดังนี้คือ
-----1. ต้องไม่ประกอบการใด ๆ เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมนั้นลดลงไป
-----2. เจ้าของสามยทรัพย์ ไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงใน ภารยทรัพย์ หรือ ในสามยทรัพย์ อันเป็นการเพิ่มภาระแก่ ภารยทรัพย์
-----3. เจ้าของสามยทรัพย์ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อรักษาและ ใช้ภาระจำยอม และ ต้องให้ภารยทรัพย์เสียหายน้อยที่สุด
-----4. ถ้าความต้องการของเจ้าของสามยทรัพย์เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงนั้นย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่เจ้าของสามยทรัพย์ ที่จะทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้น แก่ภารยทรัพย์
-----5. เจ้าของภารยทรัพย์อาจจะขอย้ายไปส่วนอื่น ก็ได้ แต่การย้ายนั้น ต้องไม่ ทำให้ความสะดวกแห่งสามยทรัพย์ลดน้อยลงไป
-----6. ถ้ามีการแบ่งภารยทรัพย์ ภาระจำยอมก็คงมีอยู่ทุกส่วน ที่แยกออกไป แต่ถ้าส่วนใดไม่ใช้ หรือ ใช้ไม่ได้ เจ้าของส่วนอาจเรียกหรือ ขอให้พ้นจากภาระจำยอมได้
-----7. เมื่อสามยทรัพย์ได้จำหน่ายออกไปภาระจำยอมย่อมติดไปด้วย เว้นแต่จะมีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ภาระจำยอมเป็นบทบัญญัติที่ไม่มีการจำกัดระยะเวลา เหมือนทรัพยสิทธิประเภทอื่น ดังนั้นการทำนิติกรรมที่ ก่อให้เกิดภาระจำยอมต้องกำหนดเงื่อนไงไว้ให้ชัดเจน เช่น ความกว้างความยาว การให้ยานพาหะนผ่านได้หรือไม่ หรือ การกำหนดว่าให้หมดภาระจำยอม เมื่อมีการโอน สามยทรัพย์ให้บุคคลอื่น
----------ภาระจำยอม อาจเกิดโดยนิติกรรม และ โอยอายุความภาระจำยอมโดยนิติกรรม จะทำได้โดยการตกลงกัน ระหว่างเจ้าของที่ดินแปลงที่จะจดเป็นภาระจำยอม และ แปลงที่จะได้ประโยชน์จากภาระจำยอม โดยต้องจดทะเบียน ต่อเจ้าหน้าที่ ส่วนภาระจำยอมที่เกิดจากอายุความ เกิดโดยทื่ดินแปลง หนึ่งได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินอีกแปลงหนึ่ง โดยสงบ เปิดเผย และ มีเจตนาเป็นเจ้าของสิทธินั้น ติดต่อกันเป็นระยะเวลาเกิน 10 ปี จนได้ภาระจำยอมโดยอายุความ
----------การสิ้นไปแห่งภาระจำยอม
-----1. ถ้า ภารยทรัพย์ หรือ สามยทรัพย์ สลายไปทั้งหมดเท่ากับภาระจำยอมจะสิ้นไปโดยอัตโนมัติ
-----2. เมื่อภารยทรัพย์ หรือ สามยทรัพย์ ตกเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เจ้าของสามารถขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมได้
-----3. ภาระจำยอมไม่ได้ใช้ 10 ปี ติดต่อกัน ภาระจำยอม ย่อมหมดสิ้นไป
-----4. ภาระจำยอมหมด ประโยชน์ แก่สามยทรัพย์
-----5. เมื่อภาระจำยอมนั้น ยังประโยชน์ ให้แก่ สามยทรัพย์นั้น น้อยมาก เจ้าของภารยทรัพย์ขอให้พ้นจากภาระจำยอมทั้งหมด หรือ แต่บางส่วนก็ได้ แต่ต้องใช้ค่าทดแทน
----------------ภาระจำยอม เป็นทรัพยสิทธิ ประเภทหนึ่ง ที่ตัดทอนกรรมสิทธิ์ ในอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่น อันทำให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น ต้องยอมรับภาระบางอย่างซึ่งกระทบกระเทือนอำนาจกรรมสิทธิ์ เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ในทางกฏหมายแล้ว อสังหาริมทรัพย์ที่ได้ประโยชน์จากภาระจำยอมเรียกว่า " สามยทรัพย์ " ส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในบังคับภาระจำยอมเรียกว่า " ภารยทรัพย์ " ตัวอย่างภาระจำยอมเช่น ยอมให้มีทางเดิน หรือ ทางน้ำ ยอมให้ชายคา หรือ หน้าต่างบุคคลอื่น ล้ำเข้ามาในที่ดินของตน ยอมที่จะไม่ปลูกสร้างอาคาร ปิดบังแสงสว่าง ทางลม แก่ที่ดินข้างเคียง
----------สิทธิ และ หน้าที่ของ เจ้าของภารยทรัพย์มีดังนี้คือ
-----1. ต้องไม่ประกอบการใด ๆ เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมนั้นลดลงไป
-----2. เจ้าของสามยทรัพย์ ไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงใน ภารยทรัพย์ หรือ ในสามยทรัพย์ อันเป็นการเพิ่มภาระแก่ ภารยทรัพย์
-----3. เจ้าของสามยทรัพย์ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อรักษาและ ใช้ภาระจำยอม และ ต้องให้ภารยทรัพย์เสียหายน้อยที่สุด
-----4. ถ้าความต้องการของเจ้าของสามยทรัพย์เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงนั้นย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่เจ้าของสามยทรัพย์ ที่จะทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้น แก่ภารยทรัพย์
-----5. เจ้าของภารยทรัพย์อาจจะขอย้ายไปส่วนอื่น ก็ได้ แต่การย้ายนั้น ต้องไม่ ทำให้ความสะดวกแห่งสามยทรัพย์ลดน้อยลงไป
-----6. ถ้ามีการแบ่งภารยทรัพย์ ภาระจำยอมก็คงมีอยู่ทุกส่วน ที่แยกออกไป แต่ถ้าส่วนใดไม่ใช้ หรือ ใช้ไม่ได้ เจ้าของส่วนอาจเรียกหรือ ขอให้พ้นจากภาระจำยอมได้
-----7. เมื่อสามยทรัพย์ได้จำหน่ายออกไปภาระจำยอมย่อมติดไปด้วย เว้นแต่จะมีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ภาระจำยอมเป็นบทบัญญัติที่ไม่มีการจำกัดระยะเวลา เหมือนทรัพยสิทธิประเภทอื่น ดังนั้นการทำนิติกรรมที่ ก่อให้เกิดภาระจำยอมต้องกำหนดเงื่อนไงไว้ให้ชัดเจน เช่น ความกว้างความยาว การให้ยานพาหะนผ่านได้หรือไม่ หรือ การกำหนดว่าให้หมดภาระจำยอม เมื่อมีการโอน สามยทรัพย์ให้บุคคลอื่น
----------ภาระจำยอม อาจเกิดโดยนิติกรรม และ โอยอายุความภาระจำยอมโดยนิติกรรม จะทำได้โดยการตกลงกัน ระหว่างเจ้าของที่ดินแปลงที่จะจดเป็นภาระจำยอม และ แปลงที่จะได้ประโยชน์จากภาระจำยอม โดยต้องจดทะเบียน ต่อเจ้าหน้าที่ ส่วนภาระจำยอมที่เกิดจากอายุความ เกิดโดยทื่ดินแปลง หนึ่งได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินอีกแปลงหนึ่ง โดยสงบ เปิดเผย และ มีเจตนาเป็นเจ้าของสิทธินั้น ติดต่อกันเป็นระยะเวลาเกิน 10 ปี จนได้ภาระจำยอมโดยอายุความ
----------การสิ้นไปแห่งภาระจำยอม
-----1. ถ้า ภารยทรัพย์ หรือ สามยทรัพย์ สลายไปทั้งหมดเท่ากับภาระจำยอมจะสิ้นไปโดยอัตโนมัติ
-----2. เมื่อภารยทรัพย์ หรือ สามยทรัพย์ ตกเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เจ้าของสามารถขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมได้
-----3. ภาระจำยอมไม่ได้ใช้ 10 ปี ติดต่อกัน ภาระจำยอม ย่อมหมดสิ้นไป
-----4. ภาระจำยอมหมด ประโยชน์ แก่สามยทรัพย์
-----5. เมื่อภาระจำยอมนั้น ยังประโยชน์ ให้แก่ สามยทรัพย์นั้น น้อยมาก เจ้าของภารยทรัพย์ขอให้พ้นจากภาระจำยอมทั้งหมด หรือ แต่บางส่วนก็ได้ แต่ต้องใช้ค่าทดแทน
วันเสาร์
รวยอสังหา บทที่ 19:ข้อคิดในการเลือกซื้อที่ดิน Real estate tips to rich
1. ทำเลที่ตั้ง ก่อนอื่นให้ดูผังเมืองรวมของจังหวัดที่ท่านจะสร้าง โรงงานว่าที่ดินแปลงที่ท่านดูอยู่นั้นสามารถสร้างโรงงาน
ได้หรือไม่ โดยในผังเมืองจะแบ่งเขตพื้นที่ (Zoning Area) เอาไว้ว่าแต่ละโซนของที่ดินใช้ทำอะไรได้หรือไม่ เช่น พื้นที่
สีเขียวใช้ทำเกษตรกรรม, พื้นที่สีม่วงใช้ ทำอุตสาหกรรม,พื้นที่สีเหลือง ใช้เป็นที่พักอาศัย เป็นต้น ซึ่งในแต่ละโซนก็จะกำหนดรายละเอียด
ปลีกย่อย มากขึ้นไปอีก อาทิเช่น โซนที่ระบุให้ทำเกษตรกรรมแต่มีข้อยกเว้นสร้างโรงงานที่ไม่มีมลพิษได้บางส่วน 5 – 10% ของพื้นที่
ในโซนนั้นเป็น ต้น ซึ่งต้องไปดูว่าอุตสาหกรรมของท่านจัดอยู่ประเภทไหนสามารถสร้างได้หรือไม่ในทาง ปฏิบัติขอแนะนำให้นำโฉนด
ที่ดินไปปรึกษาเจ้าหน้าที่ผู้ออกใบอนุญาตโดยตรง เป็นกรณี ๆ ไป ส่วนอีกประเด็นหนึ่งที่จะลืมไม่ได้ก็คือ ดูว่าที่ดินแปลงนั้นใกล้กับวัด
ศาสนสถาน หรือโรงเรียนมากน้อยแค่ไหน ถ้าใกล้มากอาจจะขออนุญาตสร้างโรงงานไม่ได้สิ่งที่ต้องพิจารณาอีกประเด็นหนึ่งก็ คือ
การเลือกซื้อ ที่ดินบริเวณที่สามารถขยายโรงงานได้ง่ายในอนาคต กรณีที่ซื้อที่ดินใกล้เขตชุมชนเมื่อกิจการเจริญเติบโตขึ้นการขยายตัว จะทำได้ยากกว่าการซื้อที่ดินที่ห่างไกลแหล่ง ชุมชน เนื่องจากที่ดินใกล้เขตชุมชนมีราคาแพง และจะมีสิ่งปลูกสร้างโดยรอบเพิ่มขึ้นอย่าง
รวดเร็วการพิจารณาซื้อที่ดินที่ภาครัฐให้การส่งเสริม การลงทุนก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์ในการลงทุนด้านอื่น ๆ เช่น
เรื่องภาษี เรื่องเครื่องจักร เป็นต้น
2. ขนาด รูปร่าง และระดับของที่ดิน สิ่งต่อมาที่ต้องพิจารณา คือ ตัวที่ดิน ได้แก่ลักษณะทางกายภาพของที่ดิน ขนาดความกว้าง ความลึก
รูปร่างและระดับ ของที่ดิน สิ่งเหล่านี้สำคัญมาก เช่น ถ้าที่ดินมีลักษณะเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว (หน้าแคบ แต่ลึก) ก็จะมีปัญหาในเรื่องเทศบัญญัติเกี่ยวกับ
ระยะร่นด้าน ข้าง(Set Back) ทำให้ได้ตัวโรงงานที่แคบหรือมีพื้นที่น้อยกว่าที่ต้องการได้ ยกตัวอย่าง เช่น ต้องการสร้างโรงงานขนาดพื้นที่ 2,000 ตารางเมตร ซึ่งตามกฎหมายแล้ว ถ้าโรงงานมีพื้นที่มากกว่า 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป จะต้องมีที่ว่างห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 10 เมตร
โดยรอบทุกด้าน ให้ลองเปรียบเทียบการสร้างโรงงานบนที่ดิน 2 แปลงนี้ดูจากรูปจะเห็นว่าที่ดินทั้งสองแปลงนั้น สร้างโรงงานได้ขนาดพื้นที่ 2,000ตารางเมตรเท่ากัน แต่ที่ดินแปลงที่ 1 ซึ่งมีหน้ากว้าง 36 เมตร ต้องใช้ที่ดินถึง 3 ไร่ 1 งาน 5 ตารางเมตร ในขณะที่แปลงที่ 2 เป็นที่ดินหน้ากว้าง
60 เมตร ใช้ที่ดินเพียง 2 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวาเท่านั้น เท่ากับว่าประหยัดค่าที่ดินไปได้ถึง 2 งาน 55 ตารางวา ดังนั้นในการเลือกซื้อที่ดินควรเลือก
ที่ดินที่มีลักษณะ รูปร่างใกล้เคียงกับสี่เหลี่ยมจัตุรัส จึงจะใช้ประโยชน์ที่ดินคุ้มค่ากว่าที่ดินที่มีรูปร่างยาวเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว ส่วนที่ดินแบบอื่นที่พึง
หลีกเลี่ยง ได้แก่ ที่ดินรูปชายธง ที่ดินรูปสี่เหลียมคางหมู เป็นต้น เพราะจะใช้ประโยชน์ที่ดินได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทางที่ดีก่อนตัดสินใจซื้อควร
ทดลองวาง Lay – out ของโรงงานดูก่อน และอย่าลืมเผื่อพื้นที่ สำหรับการขยายตัวในช่วง 3 – 5 ปี ด้วยระดับของที่ดินควรเป็นที่สูงอย่าง น้อย
ควรสูงกว่าระดับถนนในละแวกนั้น เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในหน้าฝน ให้สอบถามสถิติน้ำท่วมสูงสุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมาดูด้วย ถ้าที่ดินมีระดับ
ต่ำ กว่าที่ต้องการก็ควรจะถมดินเพิ่มเติม แต่ต้องตรวจสอบความพร้อมของดินที่จะถมและเมื่อถมแล้วก็สามารถก่อสร้างได้เลย ไม่ต้องรอให้ดินทรุดตัว
เพราะเราสามารถสร้างโรงงานอยู่บนเสาเข็มที่ตอกลง ไปในชั้นดินแข็งที่ลึกลงไปใต้ดิน (เช่น ในกทม. ลึกประมาณ 12 เมตร) ไม่ได้วางบนดินที่ถมเอา
ไว้จึงไม่ต้องกลัวว่าพื้นโรงงานจะ ทรุดตัว
3. การเข้าถึง ในการพิจารณาเลือกซื้อที่ดิน สิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษก็คือ ทางเข้าออกที่สะดวก และมีขนาดกว้างพอที่จะให้รถขนวัตถุดิบและ
สินค้าเข้า ไปได้นอกจากนั้นควรตรวจสอบว่า ทางเข้าออกนั้นเป็นทางสาธารณะจริงหรือไม่ เพื่อป้องกันการซื้อที่ตาบอดเข้าออกไม่ได้
4. ระบบสาธารณูปโภค ในการเลือกซื้อที่ดินสร้างโรงงานนั้น ที่ดินที่ท่านเลือกซื้อควรจะมีระบบสาธารณูปโภครองรับอย่างครบถ้วน ทั้งไฟฟ้า
น้ำประปาและโทรศัพท์ โดยสามารถตรวจสอบได้จาก การไฟฟ้า การประปาและองค์การโทรศัพท์ในเขตพื้นที่นั้น ๆ ว่ามีขนาดและจำนวนของระบบ
ต่าง ๆ รองรับเพียงพอหรือไม่หากไม่เพียงพอจะต้องทำการขยายเขต ซึ่งจะต้องเสียทั้งค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมและต้องเสียเวลารอนาน ซึ่งอาจจะมีผลกระทบ
ต่อแผนการผลิตของท่านได้แหล่งน้ำที่จะใช้ในการผลิต หรือน้ำกิน น้ำใช้ ก็มีความสำคัญมากเช่นกันกรณีที่บริเวณนั้นยังไม่มีระบบประปารองรับ หรือ
มี แต่ไม่เพียงพอต่อการใช้งานอาจจะต้องสร้างบ่อ หรือถังกักเก็บน้ำขึ้นมาใช้เอง ก็ต้องพิจารณาค่าใช้จ่ายในส่วนที่เพิ่มเติมนี้ด้วย
5.สภาพแวดล้อม ก่อนซื้อที่ดิน ควรพิจารณาสภาพแวดล้อมโดยรอบด้วยว่า เมื่อสร้างโรงงานไปแล้วจะเกิดผลกระทบต่อเนื่องอย่างไรบ้าง เช่น ถ้ามี
ชุมชน บ้านเรือนที่พักอาศัยอยู่ใกล้เกินไป แล้วโรงงานของท่านมีเสียงดัง มีอากาศเป็นพิษ กลิ่นเหม็น มีฝุ่น ควัน หรือมีน้ำเสียที่เกินมาตรฐาน ชาวบ้าน
อาจจะร้องเรียนมีปัญหากับชุมชนรอบข้าง ทำให้การผลิตต้องหยุดชะงักจนถึงขั้นปิดโรงงานได้ การสร้างโรงงานเพื่อป้องกันมลพิษเหล่านั้นไม่ให้
เกิดขึ้นเลยก็สามารถทำ ได้แต่อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายสูงเกินไป ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้นจึงควรชั่งน้ำหนักดูว่าจะเลือกตั้งโรงงานในพื้นที่นั้น หรือ
เลือก ที่อื่นที่ไม่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว
6. เรื่องอื่น ๆ ยังมีข้อที่ควรพิจารณาในการเลือก ซื้อที่ดินในด้านอื่น ๆ อีก เช่น การดูเรื่องฮวงจุ้ยว่า ที่ดินแปลงที่เราเลือกมีความเหมาะสมที่จะตั้ง
โรงงานหรือไม่ การเลือกที่ตั้งไม่ดีอาจจะมีผลกระทบต่อกิจการได้ซึ่งศาสตร์ของฮวงจุ้ยโดย เนื้อแท้ก็คือการนำหลักพื้นฐานมาจากการใช้งานจริงได้
สะดวกและปลอดภัยมา ใช้ เช่น ไม่ควรสร้างอาคารบนที่ดินตรงกับทางสามแพร่งเพราะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุรถชน ได้ง่าย เป็นต้น
ได้หรือไม่ โดยในผังเมืองจะแบ่งเขตพื้นที่ (Zoning Area) เอาไว้ว่าแต่ละโซนของที่ดินใช้ทำอะไรได้หรือไม่ เช่น พื้นที่
สีเขียวใช้ทำเกษตรกรรม, พื้นที่สีม่วงใช้ ทำอุตสาหกรรม,พื้นที่สีเหลือง ใช้เป็นที่พักอาศัย เป็นต้น ซึ่งในแต่ละโซนก็จะกำหนดรายละเอียด
ปลีกย่อย มากขึ้นไปอีก อาทิเช่น โซนที่ระบุให้ทำเกษตรกรรมแต่มีข้อยกเว้นสร้างโรงงานที่ไม่มีมลพิษได้บางส่วน 5 – 10% ของพื้นที่
ในโซนนั้นเป็น ต้น ซึ่งต้องไปดูว่าอุตสาหกรรมของท่านจัดอยู่ประเภทไหนสามารถสร้างได้หรือไม่ในทาง ปฏิบัติขอแนะนำให้นำโฉนด
ที่ดินไปปรึกษาเจ้าหน้าที่ผู้ออกใบอนุญาตโดยตรง เป็นกรณี ๆ ไป ส่วนอีกประเด็นหนึ่งที่จะลืมไม่ได้ก็คือ ดูว่าที่ดินแปลงนั้นใกล้กับวัด
ศาสนสถาน หรือโรงเรียนมากน้อยแค่ไหน ถ้าใกล้มากอาจจะขออนุญาตสร้างโรงงานไม่ได้สิ่งที่ต้องพิจารณาอีกประเด็นหนึ่งก็ คือ
การเลือกซื้อ ที่ดินบริเวณที่สามารถขยายโรงงานได้ง่ายในอนาคต กรณีที่ซื้อที่ดินใกล้เขตชุมชนเมื่อกิจการเจริญเติบโตขึ้นการขยายตัว จะทำได้ยากกว่าการซื้อที่ดินที่ห่างไกลแหล่ง ชุมชน เนื่องจากที่ดินใกล้เขตชุมชนมีราคาแพง และจะมีสิ่งปลูกสร้างโดยรอบเพิ่มขึ้นอย่าง
รวดเร็วการพิจารณาซื้อที่ดินที่ภาครัฐให้การส่งเสริม การลงทุนก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์ในการลงทุนด้านอื่น ๆ เช่น
เรื่องภาษี เรื่องเครื่องจักร เป็นต้น
2. ขนาด รูปร่าง และระดับของที่ดิน สิ่งต่อมาที่ต้องพิจารณา คือ ตัวที่ดิน ได้แก่ลักษณะทางกายภาพของที่ดิน ขนาดความกว้าง ความลึก
รูปร่างและระดับ ของที่ดิน สิ่งเหล่านี้สำคัญมาก เช่น ถ้าที่ดินมีลักษณะเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว (หน้าแคบ แต่ลึก) ก็จะมีปัญหาในเรื่องเทศบัญญัติเกี่ยวกับ
ระยะร่นด้าน ข้าง(Set Back) ทำให้ได้ตัวโรงงานที่แคบหรือมีพื้นที่น้อยกว่าที่ต้องการได้ ยกตัวอย่าง เช่น ต้องการสร้างโรงงานขนาดพื้นที่ 2,000 ตารางเมตร ซึ่งตามกฎหมายแล้ว ถ้าโรงงานมีพื้นที่มากกว่า 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป จะต้องมีที่ว่างห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 10 เมตร
โดยรอบทุกด้าน ให้ลองเปรียบเทียบการสร้างโรงงานบนที่ดิน 2 แปลงนี้ดูจากรูปจะเห็นว่าที่ดินทั้งสองแปลงนั้น สร้างโรงงานได้ขนาดพื้นที่ 2,000ตารางเมตรเท่ากัน แต่ที่ดินแปลงที่ 1 ซึ่งมีหน้ากว้าง 36 เมตร ต้องใช้ที่ดินถึง 3 ไร่ 1 งาน 5 ตารางเมตร ในขณะที่แปลงที่ 2 เป็นที่ดินหน้ากว้าง
60 เมตร ใช้ที่ดินเพียง 2 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวาเท่านั้น เท่ากับว่าประหยัดค่าที่ดินไปได้ถึง 2 งาน 55 ตารางวา ดังนั้นในการเลือกซื้อที่ดินควรเลือก
ที่ดินที่มีลักษณะ รูปร่างใกล้เคียงกับสี่เหลี่ยมจัตุรัส จึงจะใช้ประโยชน์ที่ดินคุ้มค่ากว่าที่ดินที่มีรูปร่างยาวเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว ส่วนที่ดินแบบอื่นที่พึง
หลีกเลี่ยง ได้แก่ ที่ดินรูปชายธง ที่ดินรูปสี่เหลียมคางหมู เป็นต้น เพราะจะใช้ประโยชน์ที่ดินได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทางที่ดีก่อนตัดสินใจซื้อควร
ทดลองวาง Lay – out ของโรงงานดูก่อน และอย่าลืมเผื่อพื้นที่ สำหรับการขยายตัวในช่วง 3 – 5 ปี ด้วยระดับของที่ดินควรเป็นที่สูงอย่าง น้อย
ควรสูงกว่าระดับถนนในละแวกนั้น เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในหน้าฝน ให้สอบถามสถิติน้ำท่วมสูงสุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมาดูด้วย ถ้าที่ดินมีระดับ
ต่ำ กว่าที่ต้องการก็ควรจะถมดินเพิ่มเติม แต่ต้องตรวจสอบความพร้อมของดินที่จะถมและเมื่อถมแล้วก็สามารถก่อสร้างได้เลย ไม่ต้องรอให้ดินทรุดตัว
เพราะเราสามารถสร้างโรงงานอยู่บนเสาเข็มที่ตอกลง ไปในชั้นดินแข็งที่ลึกลงไปใต้ดิน (เช่น ในกทม. ลึกประมาณ 12 เมตร) ไม่ได้วางบนดินที่ถมเอา
ไว้จึงไม่ต้องกลัวว่าพื้นโรงงานจะ ทรุดตัว
3. การเข้าถึง ในการพิจารณาเลือกซื้อที่ดิน สิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษก็คือ ทางเข้าออกที่สะดวก และมีขนาดกว้างพอที่จะให้รถขนวัตถุดิบและ
สินค้าเข้า ไปได้นอกจากนั้นควรตรวจสอบว่า ทางเข้าออกนั้นเป็นทางสาธารณะจริงหรือไม่ เพื่อป้องกันการซื้อที่ตาบอดเข้าออกไม่ได้
4. ระบบสาธารณูปโภค ในการเลือกซื้อที่ดินสร้างโรงงานนั้น ที่ดินที่ท่านเลือกซื้อควรจะมีระบบสาธารณูปโภครองรับอย่างครบถ้วน ทั้งไฟฟ้า
น้ำประปาและโทรศัพท์ โดยสามารถตรวจสอบได้จาก การไฟฟ้า การประปาและองค์การโทรศัพท์ในเขตพื้นที่นั้น ๆ ว่ามีขนาดและจำนวนของระบบ
ต่าง ๆ รองรับเพียงพอหรือไม่หากไม่เพียงพอจะต้องทำการขยายเขต ซึ่งจะต้องเสียทั้งค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมและต้องเสียเวลารอนาน ซึ่งอาจจะมีผลกระทบ
ต่อแผนการผลิตของท่านได้แหล่งน้ำที่จะใช้ในการผลิต หรือน้ำกิน น้ำใช้ ก็มีความสำคัญมากเช่นกันกรณีที่บริเวณนั้นยังไม่มีระบบประปารองรับ หรือ
มี แต่ไม่เพียงพอต่อการใช้งานอาจจะต้องสร้างบ่อ หรือถังกักเก็บน้ำขึ้นมาใช้เอง ก็ต้องพิจารณาค่าใช้จ่ายในส่วนที่เพิ่มเติมนี้ด้วย
5.สภาพแวดล้อม ก่อนซื้อที่ดิน ควรพิจารณาสภาพแวดล้อมโดยรอบด้วยว่า เมื่อสร้างโรงงานไปแล้วจะเกิดผลกระทบต่อเนื่องอย่างไรบ้าง เช่น ถ้ามี
ชุมชน บ้านเรือนที่พักอาศัยอยู่ใกล้เกินไป แล้วโรงงานของท่านมีเสียงดัง มีอากาศเป็นพิษ กลิ่นเหม็น มีฝุ่น ควัน หรือมีน้ำเสียที่เกินมาตรฐาน ชาวบ้าน
อาจจะร้องเรียนมีปัญหากับชุมชนรอบข้าง ทำให้การผลิตต้องหยุดชะงักจนถึงขั้นปิดโรงงานได้ การสร้างโรงงานเพื่อป้องกันมลพิษเหล่านั้นไม่ให้
เกิดขึ้นเลยก็สามารถทำ ได้แต่อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายสูงเกินไป ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้นจึงควรชั่งน้ำหนักดูว่าจะเลือกตั้งโรงงานในพื้นที่นั้น หรือ
เลือก ที่อื่นที่ไม่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว
6. เรื่องอื่น ๆ ยังมีข้อที่ควรพิจารณาในการเลือก ซื้อที่ดินในด้านอื่น ๆ อีก เช่น การดูเรื่องฮวงจุ้ยว่า ที่ดินแปลงที่เราเลือกมีความเหมาะสมที่จะตั้ง
โรงงานหรือไม่ การเลือกที่ตั้งไม่ดีอาจจะมีผลกระทบต่อกิจการได้ซึ่งศาสตร์ของฮวงจุ้ยโดย เนื้อแท้ก็คือการนำหลักพื้นฐานมาจากการใช้งานจริงได้
สะดวกและปลอดภัยมา ใช้ เช่น ไม่ควรสร้างอาคารบนที่ดินตรงกับทางสามแพร่งเพราะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุรถชน ได้ง่าย เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)