ประหยัดการใช้เหล็กอย่างไร โดยปกติการพิจารณาเลือกชนิดของเหล็กเส้น ได้แก่ เหล็กเส้นกลม เหล็กข้ออ้อย ชนิด SD30, SD40 และ SD40 และ SD50 จะขึ้นอยู่กับชนิดของโครงสร้างเป็นหลัก และในปัจจุบันมีความนิยมใช้เหล็กเส้นข้ออ้อยมากกว่าการใช้เหล็กเส้นกลมเนื่องมาจากคุณภาพที่ดีกว่า ทั้งด้านแรงดึง และแรงยึดเกาะคอนกรีต ในขณะที่ราคาเท่ากันและในขณะเดียวกันสัดส่วนของการใช้ SD40 ต่อ SD30 ก็มีมากขึ้น เนื่องจากผู้ใช้สามารถซื้อ SD40 ในราคาสูงกว่า SD30 เพียง 20 สตางค์ ต่อ กิโลกรัม แต่มีแรงดึงสูงกว่า ถึง 33 % ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการลดจำนวนการใช้เหล็กและทำให้ต้นทุนโดยรวมถูกกว่าถึง 30 %
ความเปลี่ยนแปลงอีกประการหนึ่ง ก็คือ การใช้เหล็กข้ออ้อยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 มม. สำหรับทำเหล็กปลอกแทนการ ใช้เหล็กเส้นกลม 6 มม. และ 9 มม. ด้วยเหตุผลเช่นเดียวกับข้างต้นในด้านความประหยัดเห็นได้ชัดว่า จะประหยัดน้ำหนักเหล็กได้ 25 % ประกอบกับราคาเหล็กข้ออ้อยจะถูกกว่าเหล็กเส้นกลมมาตรฐานเล็กน้อย ดังนั้น ในด้านต้นทุนจะประหยัดได้มากกว่า 25 % อีกทั้งจะไม่เป็นการเสี่ยงกับเหล็กที่ไม่ได้มาตรฐานดังได้กล่าวมาแล้ว
ทางด้านวิศวกรรมนั้น การใช้เหล็กเส้นต่างชนิดกันในโครงสร้างเดียวกัน เป็นสิ่งที่ไม่ตรงกันด้านความเค้น (Strain comp-atibity) แม้ว่าส่วนหนึ่งจะเป็นหลักยืนอีกส่วนหนึ่งเป็นเหล็กปลอกก็ตาม เพราะเหล็กทั้ง 2 ชนิด จะต้องทำงานด้วยกัน ด้วยค่าความ เค้น(strain) ของคอนกรีตเดียวกัน
เหล็กเส้นสำหรับงานคอนกรีต เสริมเหล็กในการนำมาใช้งานมักมีการดัดหรืองอให้เข้ากับรูปร่างของโครงสร้าง เช่น เหล็กปลอก เป็นต้น ในทางวิศวกรรมเรายังคงถือว่าเหล็กที่ดัดงอแล้ว ยังคงมีแรงดึงเท่าเดิม ซึ่งอาจไม่เป็นเช่นนั้นถ้าเหล็กที่ดัดหรืองอนี้มีรอย ร้าวภายใน หรือเหล็กที่ดัดงอมีการหักเกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ใช้ และวิศวกรผู้ควบคุมสามารถสังเกตและต้องระวังเป็นพิเศษเพื่อความ ปลอดภัยของอาคารในภายหน้า
ในด้านของเหล็กทรงยาวแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.เหล็กลวด (Wire rods)
2. เหล็กเส้น (Steel bars)
3. เหล็กรูปพรรณ (Section Steels)
ความแตกต่างของการใช้งานเหล็กทรงยาว (Long Products) ทั้ง 3 ชนิด มีดังต่อไปนี้2. เหล็กเส้น (Steel bars)
3. เหล็กรูปพรรณ (Section Steels)
เหล็กลวด (Wire Rod) เป็นเหล็กลวดชนิดม้วนที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ลวดเชื่อม , ลวดผูกเหล็ก ลวดตะแกรง นอต เหล็กก่อสร้างขนาดเล็กสปริงขนาดเล็กและใหญ่ เช่น คอล์ยสปริงของรถยนต์ เหล็กเส้น มีลักษณะเป็นเส้นกลมหรือเป็นข้ออ้อย ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เหล็กเพลา เป็นต้น
เหล็กรูปพรรณ เช่น เหล็กราง รถไฟ ไอบีม เอชบีม เหล็กฉาก และเหล็ก รางน้ำ
สิ่งที่น่าวิตก คือ ในปัจจุบันได้มีการนำเข้า เหล็กลวด ขนาดเล็กคือ 5 มม. และ 5.5 มม. จากต่างประเทศน้ำมาเหยียดและตัด เป็นเหล็กเส้นกลมขายเป็นเหล็ก 2 หุน และเหล็กลวดขนาด 8 มม. และ 8.5 มม. นำมาเหยียด และตัดเป็นเหล็กเส้นกลม ขายเป็น เหล็กเส้นขนาด 9.0 มม. หรือ เหล็ก 3 หุน ซึ่งเหล็ก ทั้ง 2 ชนิดมีขนาดและคุณสมบัติทางกลไม่ได้มาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรม (มอก.) และอาจเป็นอันตรายขณะก่อสร้างและแก่ผู้อยู่อาศัยอีกด้วย
วิธีสังเกต เหล็กเส้นกลมตามมาตรฐาน มอก. จะต้องเป็นด้านนูนถาวร บนเนื้อเหล็กระบุเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิตและชื่อ
ขนาด แต่เหล็กเส้นที่ทำจากเหล็กลวดจะไม่มีตัวนูนบนเนื้อเหล็ก ซึ่งผู้ใช้จะสามารถสังเกตได้ชัดเจน เหล็กเตาหลอมใน เหล็กเตาหลอมนอก และเหล็กรีดซ้ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น